จารึกวัดหลวง (หนองคาย)

จารึก

จารึกวัดหลวง (หนองคาย)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:41:05 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดหลวง (หนองคาย)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 9

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 1957

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43 ซม. สูง 83 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. 9”
2) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดหลวง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดหลวง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

แปะติดกับฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถวัดหลวง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 341-342.

ประวัติ

ในบันทึกของงานหนังสือและเอกสารตัวเขียนโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ว่ามีอักษรจารึกทั้งสองด้าน แต่ในปัจจุบันพบว่าทางวัดได้นำจารึกหลักนี้แปะติดไว้กับฐานชุกชีพระประธาน จึงทำให้อ่านได้เพียงด้านเดียว

เนื้อหาโดยสังเขป

เจ้าไชยมหาราช เจ้าเมืองเชียงทอง ได้มีศรัทธาให้ที่กับวัด ตามแบบโบราณกาลที่พระยาแสนได้กระทำไว้ก่อนหน้านี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้จารึกหลักนี้ อายุ จ.ศ. 776 (จากข้อความจารึกบรรทัดที่ 2-3 ที่ระบุ “ปีกาบ (ส) ง้า” ซึ่งก็คือ ปีมะเมีย ฉศก) ตรงกับ พ.ศ. 1957 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาถปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 1915-1959)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดหลวง,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 341-342.
2) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 61-64.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-28, ไฟล์; Nk_0900_c)