จารึกมหาเถรฯ สร้างพระพุทธรูป

จารึก

จารึกมหาเถรฯ สร้างพระพุทธรูป

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 15:01:41 )

ชื่อจารึก

จารึกมหาเถรฯ สร้างพระพุทธรูป

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกแผ่นทองจั๋งโก๋ พระพุทธรูปคอระฆัง พระธาตุหริภุญชัย ด้านทิศตะวันออก, ลพ. 47

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นทองจั๋งโก๋บุรูปพุทธปฏิมากร ปางถวายเนตร

ขนาดวัตถุ

กว้าง 68 ซม. สูง 224 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 47”
2) ในหนังสือ งานเกี่ยวกับจารึก กำหนดเป็น “จารึกแผ่นทองจั๋งโก๋ พระพุทธรูปคอระฆัง พระธาตุหริภุญชัย ด้านทิศตะวันออก”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 24-29 พฤศจิกายน 2524

สถานที่พบ

ด้านทิศตะวันออก คอระฆังพระธาตุหริภุญไชย วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

สมชาย คงวานิชโรจน์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน

ปัจจุบันอยู่ที่

ด้านทิศตะวันออก คอระฆังพระธาตุหริภุญไชย วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

งานเกี่ยวกับจารึก (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522), 64-67.

ประวัติ

นายสมชาย คงวานิชโรจน์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุหริภุญไชย ได้พบจารึกพระพุทธรูป แผ่นทองจั๋งโก๋ ประจำทิศต่างๆ บนคอระฆังพระธาตุหริภุญไชย รวม 4 องค์ แล้วจึงแจ้งเรื่องให้กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ทราบ กองหอสมุดแห่งชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่สายงานจารึก งานบริการหนังสือภาษาโบราณ เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจ เมื่อระหว่างวันที่ 23-29 พฤศจิกายน 2524

เนื้อหาโดยสังเขป

เจ้ามหาเถรได้สร้างพระพุทธรูปพระองค์นี้ ด้วยความปรารถนาที่จะได้ถึงซึ่งนิพพาน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกพระพุทธรูป แผ่นทองจั๋งโก๋ ประจำทิศต่างๆ ทั้ง 4 องค์ รูปอักษรที่ปรากฏส่วนมากเป็นรูปแบบเดียวกัน หรือคล้ายกัน คือเป็นอักษรฝักขาม มีรูปอักษรบางตัวที่แตกต่างกันบ้าง คงจะเนื่องจากว่าเป็นจารึกที่ต่างคราวกัน อย่างเช่น จารึกพระพุทธรูปตะวันตกเฉียงใต้ องค์ที่ 1 นี้ อักษรจารึกมีรูปแบบเดียวกับจารึกมหาเถรฯ สร้างพระพุทธรูป ซึ่งมีรูปอักษรเป็นแบบเดียวกับรูปอักษรที่ปรากฏในศิลาจารึก วัดพระยืน (พ.ศ. 1913) ที่ได้กล่าวถึงพระมหาสุมนเถรนำพระพุทธศาสนาจากสุโขทัยขึ้นไปสู่ล้านนาไทย คือราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ต้นพุทธศตวรรษที่ 21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
เทิม มีเต็ม, “คำแถลงจารึกแผ่นทองจั๋งโก๋ พระพุทธรูปคอระฆัง พระธาตุหริภุญไชย,” ใน งานเกี่ยวกับจารึก (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525), 38-81.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : งานเกี่ยวกับจารึก (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522)