อายุ-จารึก พ.ศ. 2375, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระยาพุทธวงศ์, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปยืน, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-นางขอด,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปประทับยืน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน ๘๒/๒๕๒๓ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกฐานพระพุทธรูปประทับยืน เลขทะเบียน ๘๒/๒๕๒๓ |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช ๒๓๗๕ |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ไม้ลงรักปิดทอง |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปยืน |
ขนาดวัตถุ |
ฐานกว้าง ๑๓.๒ ซม. สูง ๖.๕ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. ๒๙” |
ปีที่พบจารึก |
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ |
สถานที่พบ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จังหวัดน่าน |
ผู้พบ |
กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จังหวัดน่าน |
พิมพ์เผยแพร่ |
เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓), ๒๘๖-๒๘๗. |
ประวัติ |
นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันสำรวจโบราณวัตถุในจังหวัดน่าน ๒ ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ ๒๕ ตุลาคม ถึง ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒-๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปจำนวน ๔๓ องค์ จารึกบนหีบพระธรรม ๓ ใบ และจารึกบนบานประตูวิหาร ๒ บาน จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัย อักษรฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา สำหรับจารึกฐานพระพุทธรูปประทับยืนนี้ ถูกพบในตั้งแต่การสำรวจครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยมีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
คัมภีร์? และนางขอดเป็นประธานในการสร้างพระพุทธรูป ๔ อิริยาบท เมื่อจุลศักราช ๑๑๙๔ (พ.ศ. ๒๓๗๕) |
ผู้สร้าง |
คัมภีร์? และนางขอดรวมถึงญาติพี่น้อง |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช ๑๑๙๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นมีเจ้ามหายศ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๘-๒๓๗๘) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๘, จาก : |