จารึกวัดหัวหนองเวียงกุมกาม 1

จารึก

จารึกวัดหัวหนองเวียงกุมกาม 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 14:18:22 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2564 17:18:40 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดหัวหนองเวียงกุมกาม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 163, จารึก ชม. 163

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-22

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ชิ้นส่วนจารึก

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 163”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึก ชม. 163”

ปีที่พบจารึก

พ.ศ. 2531

สถานที่พบ

โบราณสถานวัดหัวหนอง ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 160-187.

ประวัติ

จารึกวัดหัวหนอง พบเมื่อพุทธศักราช 2531 รวม 18 ชิ้น จัดเป็นกลุ่มที่ใช้รูปอักษรไทยล้านนา ภาษาไทย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 นายเทิม มีเต็ม ได้ศึกษาอ่านแปลและจัดลำดับจารึกไว้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เลขทะเบียน ชม. 163 กลุ่มที่ 2 เลขทะเบียน ชม. 164 เป็นจารึกดินเผา กลุ่มที่ 3 เลขทะเบียน ชม. 165.1-ชม. 165.8 และ กลุ่มที่ 4 เลขทะเบียน ชม. 166.1-ชม. 166.8

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกชำรุด ปรากฏข้อความน้อยคำ ไม่สมบูรณ์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปแบบอักษรน่าจะเป็นจารึกที่ใช้อักษรไทยล้านนา (ฝักขาม) ภาษาไทย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2560, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “ศิลาจารึกพบใหม่ที่เจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) และการศึกษาวิเคราะห์จารึกเวียงกุมกาม,”ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 :จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 160-187.