จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี

จารึก

จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 15:45:02 )

ชื่อจารึก

จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 2 จารึกหลังพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น, หลักที่ 132 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี, 254 วัดเชียงมั่น, ชม. 2 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี พ.ศ. 2333, 1.2.2.1 วัดเชียงมั่น พ.ศ. 2334

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2333

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 28 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้สัก

ลักษณะวัตถุ

กรอบไม้สักด้านพระปฤษฎางค์พระพุทธรูปศิลา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 23.5 สูง 38.5 ซม. หนา 4 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 2 จารึกหลังพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 132 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี”
3) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “254 วัดเชียงมั่น”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 2 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี พ.ศ. 2333”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 กำหนดเป็น “1.2.2.1 วัดเชียงมั่น พ.ศ. 2334”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 6-10.
2) คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 213-218.
3) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 15-34.

เนื้อหาโดยสังเขป

ใน พ.ศ. 2333 มังราวิเชียรปราการเจ้า, อัครราชชายานางพระยาหลวง และมเหสีเวสิยาเรือนหลวง พร้อมด้วยบรรดาขุนนางราชปุโรหิตทั้งหลายได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป โดยหวังผลจากบุญกุศลนี้ 3 ประการ ประการแรก คือ ได้ถึงซึ่งนิพพาน ประการที่สอง คือ หากได้เกิดมาอีกในชาติหน้า ขอให้พรั่งพร้อมอยู่ในตระกูลอันดี แวดล้อมด้วยญาติบริวารและทรัพย์ และประการสุดท้าย คือ ขอให้ส่วนกุศลเหล่านี้แผ่ไปถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วและสรรพสัตว์ทั้งมวล

ผู้สร้าง

มังราวิเชียรปราการเจ้า, อัครราชชายานางพระยาหลวง และมเหสีเวสิยาเรือนหลวง พร้อมด้วยบรรดาขุนนางราชปุโรหิตทั้งปวง

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 1152 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2333 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าบรมราชาธิบดี (กาวิละ) ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2324-2358)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) กรรณิการ์ วิมลเกษม, อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526), 12.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 2 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี พ.ศ. 2333,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 11-14.
3) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
4) พระอธิการอินถา อินฺทจกฺโก, พระสมพงษ์ สมจิตฺโต และประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 132 จารึกบนหลังกรอบไม้สักด้านปฤษฎางค์ พระศิลาปางทรมานช้างนาราคิรี,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 6-10.
5) ฮันส์ เพนธ์, “254 วัดเชียงมั่น,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 213-218. 
6) ฮันส์ เพนธ์, “1.2.2.1 วัดเชียงมั่น พ.ศ. 2334,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 : จารึกพระเจ้ากาวิละ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 15-34.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)