จารึกพุทธศตวรรษที่ 21

จารึก

จารึกพุทธศตวรรษที่ 21

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2556 10:13:32 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 08:00:54 )

ชื่อจารึก

จารึกพุทธศตวรรษที่ 21

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 10, ชม. 10 จารึกแสนเข้าไสแสนเข้าอิน, ชม. 10 จารึกพุทธศตวรรษที่ 21

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่น (หักชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 31 ซม. สูง 39 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 10 จารึกแสนเข้าไสแสนเข้าอิน”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 10 จารึกพุทธศตวรรษที่ 21”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดขันทอง (หรือขันหอม?) ตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 36.

ประวัติ

ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการถวายข้าพระและที่นาให้กับวัดนี้ โดยมีรายชื่อผู้ถวายและจำนวนข้าพระที่ถวายในจารึกด้วย
(เนื้อหาของจารึกเหมือนกับจารึกวัดกู่เสาหิน ด้านที่ 2)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 10 จารึกพุทธศตวรรษที่ 21,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 36.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-32, ไฟล์; ChM_1000_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28-31 มีนาคม 2561
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566

สรุปสาระสำคัญ

เป็นจารึกหลักเดียวกันแต่อยู่คนละด้านกับ จารึกกู่วัดเสาหิน https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/15624