จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์

จารึก

จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 13:50:05 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สป. 1, หลักที่ 138 จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2371

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้าง 105 ซม. สูง 89 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สป. 1”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 138 จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำเจ้าพระยา ตำบลบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอเมือง) จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำเจ้าพระยา ตำบลบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอเมือง) จังหวัดสมุทรปราการ

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 17-21.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่บริเวณฐานพระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำเจ้าพระยา ตำบลบางปลากด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 138 จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์”

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อ พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดให้สร้างป้อม,กำแพงเมืองนครเขื่อนขัณฑ์และเมืองสมุทรปราการจากนั้นทรงดำริที่จะสร้างพระมหาเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ จึงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังชักชวนข้าราชการและประชาชนร่วมกันนำหิน ทราย อิฐ มาถมและปรับพื้นที่ให้เรียบแล้วพระราชทานทรัพย์ซื้อวัสดุและค่าจ้างในการก่อสร้าง โดยแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2371 ถวายพระนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” ตอนท้ายกล่าวอุทิศพระราชกุศลและขอให้ท้าวจตุมหาราชิกา, เทวดาทั้งหลายและพระรัตนตรัยช่วยคุ้มครองอาณาจักร อนึ่ง ความคิดที่จะสร้างพระเจดีย์นี้ มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งทรงโปรดให้หาหินและอิฐมาถมที่ดิน แต่ยังไม่ได้สร้างองค์พระเจดีย์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงได้กระทำการต่อตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 2

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏบนจารึกว่า “จุลศักราช 1190“ ตรงกับ พ.ศ. 2371 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) แห่งราชวงศ์จักรี

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) เจริญ ตันมหาพรหม, แลหลังเจดีย์สำคัญในเมืองไทย (นนทบุรี : ธารบัวแก้ว, 2542).
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 138 จารึกที่ฐานพระสมุทรเจดีย์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 17-21.
3) ผาสุข อินทราวุธ, พุทธศาสนาและประติมาณวิทยา (เอกสารอัดสำเนา) (กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530).
4) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).
5) สมคิด จิระทัศนกุล, วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537).
6) สมัย สุทธิธรรม, สมุทรปราการ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2542).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)