อายุ-พ.ศ. 2236, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-พระรามาธิบดีที่ 3, วัตถุ-จารึกบนกระดาษฝรั่ง, ลักษณะ-จารึกแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกหอจดหมายเหตุ สำนักมิซซังต่างประเทศ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์-แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของมูสูสิงแฬร, เรื่อง-ประวัติศาสตร์-ชี้แจ้งข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส, บุุคคล-เจ้าพระยาศรีธรรมราช, บุคคล-พระเจ้าหุยส์ที่ 14, บุคคล-เมอร์ซิเออร์ปองชาแตร, บุคคล-บาทหลวงตาชาร์ด, บุคคล-บาทหลวงวรวาที, บุคคล-บาตรีเฝรู, บุคคล-บาทหลวงเดอ เฟเรอ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 19:04:16 )
ชื่อจารึก |
หนังสือเจ้าพระยาศรีธรรมราชถึงเมอร์สิเออร์ ปองชาตแรง |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2236 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
4 หน้ากระดาษ 51 บรรทัด (หน้าที่ 1 - 3 มี 15 บรรทัด หน้าที่ 4 มี 6 บรรทัด) |
วัตถุจารึก |
กระดาษสีขาว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 19 ซม. ยาว 26 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2527 |
สถานที่พบ |
หอจดหมายเหตุ สำนักมิซซังต่างประเทศ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
ผู้พบ |
ภูธร ภูมะธน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอจดหมายเหตุ สำนักมิซซังต่างประเทศ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
พิมพ์เผยแพร่ |
ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (พ.ย. 2528) : 114-121. |
ประวัติ |
จดหมายฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุ สำนักมิซซังต่างประเทศ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับบันทึกรายวันของโกษาปาน โดยถูกจัดอยู่ในแฟ้มเอกสารอินเดีย ปอนดิเชอรี (Pondichéry) 9901 (ค.ศ.) 1663-1710 หน้า 678-681 เพราะเข้าใจว่าเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งของอินเดีย แต่นักจดหมายเหตุประจำสำนักมิซซังท่านหนึ่งซึ่งเคยอยู่ที่ประเทศอินเดียมาก่อนได้ต้งข้อสังเกตว่าไม่ใช่อักษรที่ใช้ในประเทศอินเดียแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของชาติใด ต่อมา ภูธร ภูมะธน จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสผ่านโครงการสปาฟาให้ไปดูงานเรื่องพิพิธภัณฑ์ที่กรุงปารีส จึงมีโอกาสไปดูเอกสารที่สำนักมิซซัง นักจดหมายเหตุท่านดังกล่าวได้นำจดหมายออกมาให้ดูเพื่อสอบถาม จึงได้ทราบว่าเป็นอักษรและภาษาไทย ภูมะธน ภูมะธนจึงถ่ายภาพและนำมาเผยแพร่ในการสัมมนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสครบรอบ 300 ปีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2527 ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายต้นฉบับพร้อมทั้งคำอ่านในวารสารศิลปวัฒนธรรม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 จตุพร ศิริสัมพันธ์ ได้วิเคราะห์จดหมายฉบับนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “สรรพนามในบันทึกและจดหมายของโกษาปาน : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคม” ว่า จดหมายฉบับนี้เขียนด้วยลายมือบรรจง ตัวอักษรเป็นลายมือธรรมดา(ไม่ใช่รูปประดิษฐ์ที่เรียกว่าอักษรไทยย่อ) เขียนด้วยความบรรจง ลักษณะตัวอักษรยาว เล่นหางรูปสระและเครื่องหมายบางรูป เช่น สระโอ และ สระไอ ไม้หันอากาศ หรือ รูปวรรณยุกต์โท รวมถึงหางพยัญชนะบางตัว เช่น ป และ ผ เส้นล่างของพยัญชนะ ญ เป็นต้น อนึ่ง สำนักมิซซังต่างประเทศ กรุงปารีสนี้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่คริสตศาสนาไปยังดินแดนที่ห่างไกล ก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 17 บาทหลวงในสำนักดังกล่าวได้เข้ามามีบทบาทในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ทั้งที่กรุงศรีอยุธยาและลพบุรี โดยชักนำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส รายงานต่างๆจากกรุงศรีอยุธยาทั้งเรื่องเกี่ยวกับศาสนจักรและอาณาจักรที่บาทหลวงส่งไปตั้งแต่รัชสมัยดังกล่าวถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดีในสำนักแห่งนี้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เจ้าพระยาศรีธรรมราชแสดงความรู้สึกเสียใจที่ทราบข่าวว่ามูสูสิงแฬร (เมอร์ซิเออร์ มากีส์ เดอ เซนเญอเล) เสียชีวิตลงและยินดีที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงแต่งตั้งให้เมอร์ซิเออร์ ปองชาแตรงเป็นเสนาบดีแทนตำแหน่งที่ว่างลง พร้อมทั้งชี้แจงถึงเหตุพิพาทระหว่างทหารฝรั่งเศสกับคนไทยและแจ้งให้ฝรั่งเศสทราบถึงพฤติกรรมของบาทหลวงตาชาร์ด ราชทูตซึ่งได้รับมอบหมายให้เดินทางมาในไทย แต่กลับพักอยู่ที่เมืองปอนดิเชอรี่ในอินเดีย เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาจัดให้ข้าราชการไทยคือ ออกหลวงวรวาทีไปรับก็ไม่ยินยอมเข้ามา จึงต้องส่งปาตรีเฝรู (บาทหลวง เดอ เฟเรอ) ไปรับอีกครั้งหนึ่ง บาทหลวงตาชาร์ดจึงยอมเดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา โดยมีเงื่อนไขต่อรองเกี่ยวกับความปลอดภัยของตนหลายประการ ข้อความในจดหมายมีการเน้นถึงสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสและสรรเสริญบุญญาธิการของพระเจ้าหลุยส์ 14 อยู่หลายแห่ง |
ผู้สร้าง |
เจ้าพระยาศรีธรรมราช (พระยาโกษาธิบดี (ปาน)) |
การกำหนดอายุ |
แม้ว่าพุทธศักราชที่ปรากฏในจดหมายคือ “ศักราช สองพันสองร้อยสามสิบเจ็ด” แต่ ข้อความข้างเคียงระบุว่า “เบญจศก” ซึ่งหมายถึงจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 5 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1055ซึ่งจะตรงกับ พ.ศ. 2236 จึงมีการสันนิษฐานว่า ศักราช 2237 ที่ปรากฏในเอกสารเป็นการใช้เกณฑ์แบบลังกาและพม่าซึ่งบวกด้วย 1182 เมื่อเทียบกับปัจจุบันจะเกินไป 1 ปี |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |