จารึกสำโรง (ภาษาไทย)

จารึก

จารึกสำโรง (ภาษาไทย)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 15:09:22 )

ชื่อจารึก

จารึกสำโรง (ภาษาไทย)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สข. 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2388

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 58 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินแกรนิต

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปทรงคล้ายใบเสมาขนาดใหญ่

ขนาดวัตถุ

สูง 75 ซม. กว้าง 150 ซม. หนา 15 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สข. 5”
2) ในหนังสือ อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ กำหนดเป็น “ศิลาจารึกสามภาษาที่สำโรง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

โรงพยาบาลประสาท ใกล้สามแยกสำโรง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลเทพารักษ์ในบริเวณโรงพยาบาลประสาท ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ 472 ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000 (สำรวจเมื่อ 26 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ ([กรุงเทพฯ] : ทายาทตระกูลรัตนปราการ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2528).

ประวัติ

ในศาลเทพารักษ์ที่โรงพยาบาลประสาท จ. สงขลามีจารึก 3 หลัก เป็นภาษาไทย จีน และมลายู อย่างละ 1 หลัก สาระสำคัญของทั้ง 3 หลักตรงกัน จารึกที่เป็นภาษาไทย อ่านโดย โกวิท คติการ สภาพของจารึกค่อนข้างชำรุด อักษรลบเลือนหลายแห่ง จึงอ่านได้เพียง 1 ใน 3 ของข้อความทั้งหมด ข้อความที่ไม่สามารถอ่านได้มักเป็นรายนามผู้บริจาคทรัพย์

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2388 พระสุนทรานุรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา มีศรัทธาสร้างสาธารณประโยชน์ 5 อย่าง ได้แก่ ถนน บ่อน้ำ สะพาน ศาลาและศาลเทพารักษ์ จึงนำเรื่องการสร้างสะพานเรียนพณฯ พระยาวิเชียรคีรี เจ้าคุณเมืองสงขลา ท่านจึงชักชวนผู้คนร่วมบริจาคทรัพย์ได้ 2312 เหรียญ 3 สลึง โดยกล่าวถึงการสร้างและเฉลิมฉลองอย่างละเอียด

ผู้สร้าง

พระสุนทรานุรักษ์และพระยาวิเชียรคีรี

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยแปดสิบแปดพระวสา” คือ พ.ศ. 2388 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) (ครองราชย์ระหว่างพ.ศ. 2367-2393)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, “ดร. สุชาติ รัตนปราการ กับความเป็นผู้คงแก่เรียน,” ใน อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ ([กรุงเทพฯ] : ทายาทตระกูลรัตนปราการ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2528).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ ([กรุงเทพฯ] : ทายาทตระกูลรัตนปราการ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2528)