ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกบนบานหน้าต่าง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การปกครองสงฆ์, เรื่อง-ตำแหน่งสมณศักดิ์, เรื่อง-ตำแหน่งสมณศักดิ์-สงฆ์คณะเหนือ,
โพสต์เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2555 11:28:22 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:06:15 )
ชื่อจารึก |
จารึกตราตำแหน่งสมณศักดิ์ 1 หน้าต่างด้านหน้า (คณะเหนือ) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หน้าต่างด้านหน้า (คณะเหนือ) |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
บานซ้ายมี 6 บรรทัด, บานขวามี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ไม้ |
ลักษณะวัตถุ |
บานหน้าต่าง |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 253. |
ประวัติ |
จารึกตราตำแหน่งสมณศักดิ์ ปรากฏอยู่บนบานหน้าต่างภายในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ โดยถูกจารไว้ร่วมกับลายรดน้ำรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ การปกครองคณะสงฆ์ในรัชกาลที่ 3 แบ่งออกเป็น 4 คณะใหญ่ คือ คณะเหนือ ได้แก่ หัวเมืองทางภาคเหนือทั้งหมด คณะใต้ ได้แก่หัวเมือง ทางปักษ์ใต้ทั้งหมด คณะกลางได้แก่ พระอารามหลวงและวัดราษฎร์ในกรุงเทพทั้งหมด เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และคณะอรัญวาสี ได้แก่ฝ่ายวิปัสสนา แต่ละคณะมีเจ้าคณะใหญ่ปกครอง มีเจ้าคณะรองรูปหนึ่งคือ 1 คณะเหนือ สมเด็จพระสังฆราช เป็นเจ้าคณะใหญ่ พระพิมลธรรม เป็นเจ้าคณะรอง 2 คณะใต้ สมเด็จพระวันรัตน์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ ถือว่าเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย พระธรรมอุดมเป็นเจ้าคณะรอง 3 คณะกลาง กรมหมื่นนุชิตชิโนรส (พระยศในขณะนั้น) เป็นเจ้าคณะใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคณะรามัญ ซึ่งมีพระมหาสุเมธาจารย์ เป็นเจ้าคณะปกครอง แต่มิใช่คณะใหญ่มีศักดิ์เสมอพระราชาคณะผู้ใหญ่ สังเกตได้จากตราประจำตำแหน่งมีลักษณะเหมือนกับตราตำแหน่งพระราชาคณะผู้ใหญ่ ตราประจำตำแหน่งสมณศักดิ์เป็นเครื่องหมายบ่งบอกฐานานุศักดิ์ของพระสงฆ์อีกอย่างหนึ่งทำเป็นดวงตรากลมภายในมีรูปต่างๆ กัน ที่ปรากฏในบานหน้าต่างพระอุโบสถมี 8 แบบ คือ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงตำแหน่งสมณศักดิ์ของสงฆ์คณะเหนือ |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2550) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) “จดหมายเหตุเรื่อง การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
2) “ตราตำแหน่งสมณศักดิ์,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 243-274.
|