ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

61. รหัส : H-1-4-23

การเฉยเมยต่อการศึกษาสมัยใหม่ในชุมชนชาวนาไทย

| ปี 1959 – บทความตีพิมพ์ลงใน Human Organization ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พูดถึงเรื่องการศึกษาของชุมชนชาวนาที่บางชัน โดยอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาทั่วๆไป และการศึกษาภาคบังคับที่ที่ชาวบางชันต้องพบตามประกาศของรัฐบาลกลาง การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรัฐบาล ครู ชาวนา และนักเรียน และสุดท้ายปฏิกริยาของชาวนาที่มีต่อนโยบายด้านการศึกษา รวมถึงอธิบายถึงการเพิกเฉยต่อการศึกษาของชาวนาไทย | เอกสาร บทความ

62. รหัส : H-1-4-24

การช่วยเหลือจากอเมริกาเป็นการทำลายสังคมไทย

| ปี 1968 – การเข้ามาตั้งฐานทัพของทหารอเมริกันในประเทศไทยเพื่อต่อสู้กับกองโจรและกลุ่มเวียดนามเหนือ การเข้ามาครั้งนี้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยด้านการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งการเข้ามาช่วยเหลือนี้ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาวะสมดุลทางสังคมของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

63. รหัส : H-1-4-26

รูปแบบของการติดต่อกับชาวต่างชาติ

| บทความโดย ลูเชียน แฮงส์ จากการประชุมประจำปีเกี่ยวกับชุมชนทางชาติพันธุ์ของอเมริกัน ปี 1957 แฮงส์พูดถึงการติดต่อกับชาวต่างชาติของประเทศไทย เปรียบเทียบในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 19 มีการติดต่อด้านการค้าและการทหาร การติดต่อกันของสังคมสองสังคมเกิดจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เมื่อจุดประสงค์ของการแลกเปลี่ยนไม่ใช่เพียงแค่แลกเปลี่ยนสมบัติส่วนตัวของสถาบันแบบที่เคยเป็นมา รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบใหม่จึงเกิดขึ้น | เอกสาร บทความ

64. รหัส : H-1-4-27

พระราชวังของ Surakarta Hadiningrat

| 1974 – อาณาจักร Mojopahit เป็นที่รู้จักอย่างมากของอินโดนีเซีย ผู้สืบตระกูลได้ย้ายเมืองหลวงจากชวาตะวันออกไปอยู่ที่ชวากลาง จากนั้นจึงย้ายไปที่ Kartasura และท้ายที่สุดย้ายไปที่ Surakarta Hadiningrat หนังสือนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจของ Surakarta Hadiningrat | หนังสือ

65. รหัส : H-1-4-30

คุณความดีและอำนาจในระดับชั้นทางสังคมของไทย

| ปี 1962 – บทความโดยลูเชียน แฮงส์ กล่าวถึงทัศนคติของบุคคลที่มีอยู่ในสถานะที่ตายตัวตามลำดับชั้นทางสังคม โดยแฮงส์จะมุ่งวิเคราะห์ไปที่การเคลื่อนไหวของบุคคลภายในสถานะที่ตายตัวเหล่านี้ สำหรับชาวพุทธการที่บุคคลมีระดับชั้นแตกต่างกันหรือการที่คนอยู่คนระดับกับสัตว์ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า “บุญ-ความดี” หรือ “บาป” อำนาจมาจากประสบการณ์หรือความสามารถพิเศษ หรือการมีเครื่องรางของขลัง อำนาจอาจเป็นของใครก็ได้ แต่ผลสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีบุญ | เอกสาร บทความ

66. รหัส : H-1-4-33

คนพิการในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก

| ปี 1948 - การดูแลคนพิการและการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการจะมีมากขึ้นในสังคมที่ 1.ประชากรและและการกระจายความช่วยเหลือมีความเท่าเทียมกัน 2.การแข่งขันเรื่องความสำเร็จส่วนบุคคลหรือกลุ่มมีน้อยลง และ 3.เกณฑ์ในการประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของชนชั้นทางสงัคม แต่เกี่ยวกับความสามารถส่วนบุคคลในโครงสร้างทางสังคมแบบประชาธิปไตย | เอกสาร บทความ

67. รหัส : H-1-4-34

การเป็นนักท่องเที่ยวท่ามกลางคนท้องถิ่น

| ปี 1970 – บทความ “Travelers among people” โดยลูเชียนและเจน แฮงส์ เพื่อระลึกถึงพระยาอนุมานราชธน เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของพระยาอนุมานราชธนเมื่อครั้งไปอยู่ที่อเมริกา ที่ต้องเผชิญกับความแตกต่างของผู้คน วัฒนธรรม และความรู้สึกโดดเดี่ยว | เอกสาร บทความ

68. รหัส : H-1-4-35

การแข่งเรือ

| ปี 1973 – บทวิจารณ์บทความ “La Course de Pirogues au Laos : un Complexe Cultural” ของ Charles Archaimbault ลงวารสารของสยามสมาคม กรกฎาคม 1973 ซึ่งกล่าวถึงประเพณีการแข่งเรือบริเวณแม่น้ำโขงของประเทศลาว | เอกสาร บทความ

69. รหัส : H-1-4-36

การประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18

| ปี 1984 - บทนำการประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 โดย ลูเชียน แฮงส์ ลงในวารสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ปีที่ 15 เล่มที่ 2 ปี 1984 | เอกสาร บทความ

70. รหัส : H-1-4-37

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในชุมชนคนไทย

| ปี 1955 – การศึกษาปัญหาโรคระบาด(คอตีบ) ในชุมชนบางชัน ปฏิกริยาของชาวบ้านที่มีต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การวางแผนและจัดโครงการรณรงค์เพื่อไม่ให้เกิดโรค ทัศนคติของชาวชุมชนบางชันที่มีต่อโรค รวมถึงปัจจัยที่มีต่อประสิทธิผลในการสื่อสารเรื่องการฉีดวัคซีน | เอกสาร บทความ