พ.ศ.2501-2504

ขอบเขตและเนื้อหา :

ปี พ.ศ. 2501-2504 เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่บันทึกในช่วงที่ ศ.มอร์แมน เข้ามาทำงานภาคสนามครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เวลา 2 ปี อาศัยอยู่ในบ้านแพด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เอกสาร 3295 ระเบียน ประกอบด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารจำนวน 3295 ระเบียน ประกอบไปด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่เข้ามาศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารบางส่วนจำกัดการเข้าใช้ ผู้ที่สนใจเอกสารชุดดังกล่าว สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่โครงการจดหมายเหตุฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

2701. รหัส : MM-1-21-255

การดำเนินเรื่องพิจารณาคดี

| 13 ธ.ค. หนึ่งในหน้าที่ของทนายความ คือ การกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในแบบฟอร์ม (การดำเนินเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการพิจารณาคดี-ผู้แปล) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2702. รหัส : MM-1-21-256

พนักงานศาล

| กลางเดือน พ.ค. การมีสายสัมพันธ์อันดีกับพนักงานศาลถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับคดีความ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพิจารณาคดีในศาล นอกจากนี้ พนักงานศาลบางคนยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรับสินบนแทนผู้พิพากษาอีกด้วย | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2703. รหัส : MM-1-21-257

ระยะเวลาที่ใช้ในการยื่นคำร้อง

| 30 ธ.ค. 1968 ระยะเวลาที่ใช้ในการยื่นคำร้องไปยังศาลลำดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในคดีอาญาจะใช้เวลาในการยื่นคำร้องประมาณ 15 วันก่อนที่เรื่องจะไปถึงศาลอุทธรณ์ และใช้เวลาประมาณ 30 วัน ก่อนที่เรื่องจะไปถึงศาลฎีกา | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2704. รหัส : MM-1-21-258

สารบัญคำพิพากษา

| 30 ธ.ค. ประวินเก็บสารบัญคำพิพากษาอย่างย่อเอาไว้ที่ชั้นล่างของศาล และเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2705. รหัส : MM-1-21-259

การพิจารณาคดีภายในศาล

| 13 ธ.ค. มอร์แมนเข้าไปสังเกตการณ์พิจารณาคดีในศาล และขั้นตอนการรับทราบผลของการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย รวมไปถึงการสังเกตปฏิกิริยาของจำเลยภายหลังการทราบผลการพิจารณาคดี | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2706. รหัส : MM-1-21-260

การพิจารณาคดีภายในศาล

| 6 ธ.ค. 1968 มอร์แมนเข้าไปสังเกตการณ์พิจารณาคดีในศาล เนื่องจากเป็นวันศุกร์ตอนบ่าย การพิจารณาคดีทั้งหมดจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะตำรวจมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาโดยไม่ต้องอาศัยอำนาจศาลได้ในเวลาที่จำกัด จำเป็นต้องนำผู้ต้องหาทั้งหมดส่งฟ้องศาลอย่างรวดเร็วก่อนที่จะหมดเวลาควบคุมตัว | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2707. รหัส : MM-1-21-261

การยอมความ

| 28 ม.ค. 1969 สมพลเป็นโจทก์ยื่นฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน อย่างไรก็ดี มีการประนีประนอมยอมความกัน คดีจึงไม่จำเป็นต้องเข้าสู่การพิจารณาของศาล | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2708. รหัส : MM-1-21-262

ค่าธรรมเนียนศาล

| 10 ม.ค. 1969 รายละเอียดค่าธรรมเนียนศาลต่างๆ เช่น ค่ารับฟ้อง 10 บาท ค่าตัดสินคดีความ 25 บาท ค่าแต่งตั้งทนายความ 10 บาท ฯลฯ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2709. รหัส : MM-1-21-263

การลดหย่อนโทษ

| 17 ก.พ. 1969 มอร์แมนเข้าไปสังเกตการณ์พิจารณาคดีในศาลที่วินิตออกนั่งบัลลังก์เป็นผู้พิพากษา วินิตพิพากษาลดหย่อนโทษจำคุกให้กับผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์) 3 คนที่กระทำความผิด และลดหย่อนโทษให้ผู้ต้องหาอีกคนซึ่งไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดมาก่อน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2710. รหัส : MM-1-21-264

สัมภาษณ์ธานินทร์

| 5, 7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ธานินทร์โดยมีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ระบบลูกขุนที่ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาคดีไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก เพราะคนไทยเชื่อว่าอำนาจในการตัดสินคดีความเป็นของกษัตริย์ อีกทั้ง สังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการทุจริต และการมีสายสัมพันธ์ส่วนบุคคล ซึ่งหากลูกขุนรู้จักกับผู้ต้องหาอาจมีการตัดสินคดีความเข้าข้างกันได้ 2) จำเป็นต้องมีการสอนวิธีการสอบถามความจริงจากพยานให้กับผู้ช่วยผู้พิพากษา 3) การตัดสำนวนคำพิพากษาให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งเพื่อที่ตำรวจจะได้เข้าใจง่ายขึ้น | บัตรบันทึกแบบเจาะ