ชนชาติเย้า

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารครอบคลุมการทำงานในการค้นคว้า บันทึกภาคสนามของผู้สร้าง บันทึกภาคสนามของผู้ช่วยวิจัย เอกสารเรียงพิมพ์จากข้อมูลภาคสนาม และภาพถ่าย ในการศึกษาเปรียบเทียบเย้าในจีนและในไทย อย่างไรก็ดี เอกสารโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการทำงานภาคสนามและการค้นคว้าในประเทศไทย ในจังหวัดเชียงราย น่าน และลำปาง มีเพียงภาพถ่ายจากการบันทึกการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเย้าในกวางสีเท่านั้น

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ :

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, พ.ศ. 2562

การจัดเรียงเอกสาร : ชุดเอกสารระดับ series จำแนกออกเป็น 5 file ตามหน้าที่และลักษณะเอกสาร ประกอบด้วย เอกสารในการค้นคว้า บันทึกภาคสนาม เอกสารเรียงพิมพ์จากข้อมูลสนาม บทความตีพิมพ์ และภาพถ่าย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

11. รหัส : SK-2-1-11

การอพยพของเย้า [ภาษาจีน]

| | เอกสาร บทความ

12. รหัส : SK-2-1-12

เอกสารลายมือ

| การเทียบเสียงภาษาเย้าด้วยสัทอักษรสากล พร้อมคำแปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ | เอกสาร บทความ

13. รหัส : SK-2-1-13

[เอกสารสำเนา ภาคผนวก] การณ์ลักษณะในภาษาเมี่ยน

| พ.ศ. 2533 | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะจำแนกประเภทของการณ์ลักษณะ และจัดประเภททางไวยากรณ์ของรูปแสดงการณ์ลักษณะในภาษาเมี่ยนหรือภาษาเย้า ในภาคผนวกของวิทยานิพนธ์แสดงข้อมูลนิทานภาษาเมี่ยน 5 เรื่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ | เอกสาร บทความ

14. รหัส : SK-2-1-14

เอกสารภาษาจีน

| พ.ศ. 2533 | อธิบายเย้าตระกูลต่าง ๆ และที่อยู่ | เอกสาร บทความ

15. รหัส : SK-2-1-15

แนวทางศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทลายลักษณ์.

| พ.ศ. 2533 | [กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ] หนังสือให้คำอธิบายเกี่ยวกับวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทลายลักษณ์ในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ การถ่ายโอนและการปรับปรนวรรณกรรมพื้นบ้านไทย ระหว่างภูมิภาค และเป็นกรอบในการศึกษาวรรณกรรมกับสังคม | หนังสือ

16. รหัส : SK-2-1-16

วรรณกรรมไทยเย้าจากตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา

| พ.ศ. 2529 | สำเนาวิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศึกษาเกี่ยวกับนิทาน นิยาย ประวัติ ประเภทมุขปาฐะของกลุ่มเย้า โดยจำแนกอนุภาคของวรรณกรรมตามแนวคิดของธอมป์สัน เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของชาวไทยเย้า ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา | เอกสาร บทความ

17. รหัส : SK-2-1-17

อิทธิพลของนิทานพื้นบ้านที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า บ้านห้วยแม่ซ้าย.

| พ.ศ. 2525 | สำเนาวิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมและวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า บ้านห้วยแม่ซ้าย รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณี และประมวลความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของนิทานเย้าในการเรียนการสอนภาษาไทยของชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า | เอกสาร บทความ

18. รหัส : SK-2-2-01

บันทึกข้อมูลภาคสนาม

| พ.ศ. 2530 | บันทึกข้อมูลภาคสนาม ในหลายช่วงเวลา เริ่มต้นวันที่ 23 ตุลาคม 2530 ถึง 20 พฤษภาคม 2532 ในอำเภอฝาง อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นบันทึกนิทารเย้าจากผู้ให้ข้อมูล โดยมีการระบุชื่อผู้ให้ข้อมูล อายุ และสถานที่ในการสัมภาษณ์ รวมถึงบันทึกการทำงา | สมุดบันทึก

19. รหัส : SK-2-2-02

บันทึกข้อมูลภาคสนาม

| พ.ศ. 2530 | ในบันทึกระบุวันที่เริ่ม 30 พ.ย. ถึง 4 ธ.ค. ไม่ระบุ พ.ศ. เป็นการบันทึกคำสัมภาษณ์ขนาดสั้น โดยระบุชื่อผู้ให้ข้อมูล อายุ และสถานที่พำนัก เกี่ยวกับเรื่องเล่าของชนชาติเย้า นิทาน และเกร็ดความรู้อื่น ๆ | สมุดบันทึก

20. รหัส : SK-2-2-03

สมุดบันทึกนิทานเย้า

| พ.ศ. 2530 | เล่ม 1 บ้านขุนบง เชียงราย ผู้ช่วยเก็บข้อมูลถอดเสียงจากเทปคลาเซ็ต ม้วนที่ 1-12 ประกอบด้วยนิทานจำนวน 36 เรื่อง โดยมีการระบุว่านิทานเรื่องดังกล่าวบันทึกในกลุ่ม "เย้าเก่า" หรือ "เย้าใหม่" อันหมายถึงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนเย้าตามระยะเวลา เช่น "ผัวโง่" "ไซอิ๋ว | สมุดบันทึก