ลูกน้อง : หลักการบริหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปี 1972 - การศึกษาโดย Lucien M. Hanks เกี่ยวกับระบบชนชั้นแบบปิรามิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนาจของผู้นำที่มีต่อผู้ตามขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มนักการเมืองดึงความสนใจของประชาชนด้วยข้อตกลงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ตามของคณะหนึ่งอาจเป็นผู้นำอีกคณะหนึ่ง แถบพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย การรวมกันบริหารราชการแผ่นดินเกิดขึ้นน้อยมาก แม้จะรับคำสั่งมาจากจังหวัดหรือส่วนกลางก็ตาม แต่ละอำเภอสามารถทำอะไรได้ตามต้องการตราบที่ยังไม่กระทบต่อผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงกว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปตามระดับชั้นมากกว่าแบบเท่าเทียมกันของตะวันตก คนจนต้องการคนปกป้องดูแลและความเป็นอยู่ที่ดี ขณะที่คนรวยมั่งคั่งได้จากการลงทุนกับคนไม่ใช่การสะสมทรัพย์สมบัติ ในประเทศไทยกลุ่มชาวเขาบางกลุ่มปกปิดภูมิหลังของตนด้วยการทำอาชีพและแต่งกายแบบคนไทย การเกิดกลุ่มผู้ตามเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่จะเข้าใจพฤติกรรมทางสังคม

โครงการน้ำพอง

ปี 1968 – ปัญหาจากโครงการสร้างเขื่อนน้ำพองเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการขยายคลองชลประทาน ซึ่งมีชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างมากจากการสร้างเขื่อนนี้ รัฐมีความสามารถในการสร้างสิ่งต่างๆมากมาย แต่กลับล้มเหลวในการแก้ปัญหาของประชาชน

บางชันและกรุงเทพฯ – มุมมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ

ปี 1967 – ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการบัญญัติเรื่องที่สำคัญของชาติที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น ทุกท้องถิ่นมีประวัติศาสตร์ของตนเองแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ขึ้นกับประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชาติ ทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติสะท้อนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลก เมื่อท้องถิ่นและชาติรวมกันแล้ว ประวัติศาสตร์ของทั้งสองที่ต่างเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน

อารยธรรมของความพ่ายแพ้ – ชาวเขาที่อยู่นอกประเทศจีน

ปี 1984 – แฮงส์ศึกษากลุ่มชาวเขา 4 เผ่า ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ลีซู ลาหู่ อาข่า และเย้า ที่อพยพมาจากจีนอันเนื่องมาจากการต่อสู้ แฮงส์อธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่าความผิดปกติทางชาติพันธุ์ การส่งผ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ล้มเหลวของตนไปสู่คนรุ่นหลัง ลักษณะเฉพาะของชาวเขาทั้งสี่เผ่า ประวัติศาสตร์และการพ่ายแพ้ในการต่อสู้ และสุดท้ายพูดถึงความสำคัญของวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ที่มีต่อเหตุการณ์ด้านสังคมตามชายแดนทางใต้ของจีน

ภาพสะท้อนของบ้านอาข่า แม่สะลอง

ปี 1975 – บทความ “ Reflections on Ban Akha Mae Salong” ตีพิมพ์ลงในวารสารของสยามสมาคม มกราคม 1975 ปีที่ 63 กล่าวถึงหมู่บ้านชาวอาข่าที่ดอยแม่สะลอง จากการเป็นผู้อพยพลี้ภัยจะมีวิธีการดำเนินขนบประเพณีในชีวิตของตนต่อไปอย่างไร หมู่บ้านนี้แสดงให้เห็นลักษณะการปฏิรูปอย่างลึกซึ้งและย้อนกลับไปไมได้ของชาวเขาที่เหลืออยู่ในแถบนี้ นอกจากนี้พูดถึงการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

ปี 1987 – การตั้งถิ่นฐานของลีซู

ลีซูเป็นกลุ่มชาวเขาที่มาจากประเทศจีน เดินทางเร่ร่อน ย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง เนื่องจากพวกเขาแก้ปัญหาโดยการย้ายที่อยู่ รัฐบาลพยายามจัดที่อยู่ให้คนกลุ่มนี้เพื่อป้องกันกลุ่มคอมมิวนิสต์ และแก้ไขปัญหาอื่นๆด้วย เช่นการสูญเสียพื้นที่ป่าจากการย้ายที่ทำกินบ่อยๆ การปลูกฝิ่น

บริบทของการผลิตฝิ่นในจังหวัดเชียงราย

ปี 1978 – รายงานเสนอต่อที่ประชุมของสถาบันการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับมนุษย์ ศูนย์การวิจัยฝิ่น เรื่อง “การผลิต การค้าและการใช้ฝิ่นในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ” โดยลูเชียนและเจน แฮงส์ วันที่ 3-7 เมษายน 1978 รายงานบริบทต่างๆของการปลูกฝิ่นแถบเหนือหุบเขาแม่กก จังหวัดเชียงราย

การไล่ล่ายาเสพติด

ปี 1975 – สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับยาเสพติด โดยพยายามให้ทุนสนับสนุนรัฐบาล เช่น ตุรกี ในการต่อต้านการปลูกฝิ่น กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือกลุ่มกบฎในรัฐฉานของประเทศพม่า สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะเข้ามาปราบปรามการค้ายาเสพติดในแถบภูมิภาคนี้เช่นกัน