การศึกษาที่บางชัน

ปี 1959 – ระบบการศึกษาของบางชันมีหลายแง่มุม ทั้งการเลี้ยงเด็ก เลี้ยงสัตว์ การฝึกหัด การเรียนในโรงเรียน รวมถึงการเรียนพระธรรม คัมภีร์ และคาถา, ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบ ป.4 โรงเรียนบางชัน และจำนวนนักเรียนที่ได้ศึกษาต่อ

สภาปฏิวัติชาวไต

บันทึกการเดินทางจากแม่จันไปแม่สาย - แฮงส์เดินทางไปเยี่ยมหมู่บ้านลื้อเพื่อไปพบ Sao Nga Kham นายพลแห่งกองทัพฉานอิสระ เพราะสนใจชนกลุ่มน้อยของกองทัพที่มาจาก keng tung หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย แฮงส์ต้องการรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานและรัฐบาลพม่า รวมถึงการอพยพเข้าเมืองไทยของชนกลุ่มน้อย

ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตครอบครัว

ปี 1959 – คำจำกัดความของคำว่าญาติพี่น้อง การดำรงชีพของครอบครัว การประกอบธุรกิจ การซื้อขาย แลกเปลี่ยนของครอบครัว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของครอบครัวขยายในท้องถิ่นต่างๆ

มุมมองเกี่ยวกับจักรวาลของชาวบ้านบางชัน

ปี 1957 – ชาวนาบางชันรับรู้การแบ่งส่วนของจักรวาลนี้ เช่น การแบ่งนรก-สวรรค์ ทะเล-ภูเขา สิ่งเหล่านี้ปรากฎในคำเทศนาของพระ หรือจากเรื่องเล่าต่างๆ ดังนั้นคนที่เคยบวชเรียนจะรับรู้เรื่องเกี่ยวกับจักรวาลได้มากกว่าชาวนาทั่วไป พิธีกรรม การบูชา หรือแม้แต่การทำนาก็จะอ้างอิงกับระบบจักรวาล พระจันทร์ พระอาทิตย์ ดวงดาว และเกี่ยวพันกับวันทั้ง 7 วัน มุมมองเกี่ยวกับจักรวาลยังมีความสัมพันธ์กับระดับชั้นทางสังคมและการปกป้องคุ้มครอง

รายงานเรื่องชาวเขาในจังหวัดเชียงราย ทางเหนือของแม่น้ำกก

ปี 1964 – รายงานโดยลูเชียน แฮงส์, เจน แฮงส์, ลอริสตัน ชาร์ป และ รูธ บี ชาร์ป มหาวิทยาลัยคอแนล ที่ลงไปศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขากับคนพื้นราบ รายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่แม่กก; สภาพทางภูมิศาสตร์ ประชากร การอพยพเข้ามา การขนส่ง บริการจากรัฐ ความปลอดภัย การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน การกระจายทรัพย์สิน เศรษฐกิจการเงิน การค้า ความเป็นผู้นำ สุขภาพ การศึกษา ความสัมพันธ์พิเศษของหมู่บ้าน พื้นที่สูงและพื้นที่ราบ คำแนะนำเรื่องปัญหาของประชากร การดำรงชีพ การเงิน บริการจากรัฐ สุขภาพ การศึกษา การสื่อสาร ความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างคนไทยและชาวเขา และโครงการเกี่ยวกับชีวิตที่ยั่งยืน

มุมมองของไทยและอเมริกันเรื่องเสรีภาพ

ปี 1965 – คนอเมริกันตระหนักว่าตนเองผูกติดอยู่กับสังคมเพื่อรับผลประโยชน์ จึงพยายามปกป้องตัวเองจากการถูกบังคับ และเสาะหาเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ สำหรับคนไทยไม่เคยตระหนักว่าพวกเขามีเสรีภาพนั้น สังคมไทยกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมถือเป็นอภิสิทธิ์ที่อาจจะปฏิเสธหรือเพิกถอนเมื่อไหร่ก็ได้ คนที่อยู่นอกสังคมนี้จะได้อภิสิทธิ์น้อย เมื่อใครก็ตามได้เป็นสมาชิกของสังคมและได้อภิสิทธิ์ เสรีภาพก็ไม่มีความสำคัญ คนไทยยอมรับคนต่างชาติได้มากกว่าคนอเมริกัน ชาติที่ประกอบไปด้วยคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเพิกเฉยกับประชากรของตนได้ ต้องพยายามที่จะปฏิรูปคนที่สร้างปัญหา

ความสัมพันธ์ของหมู่บ้านพื้นที่สูง-ที่ราบในภาคเหนือของประเทศไทย

ปี 1972 - มีความสัมพันธ์ทั้งในเชิงที่เป็นมิตรและเป็นปฎิปักษ์ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องระบบนิเวศน์ ภาษาและวัฒนธรรมของคน ชาวเขาจะเป็นลูกจ้างของคนที่ราบในการทำงานในไร่ ความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของการจ้างงาน การติดต่อลักษณะอื่นคือ การค้าขาย ความเป็นพันธมิตรขึ้นอยู่กับการช่วยเหลือกันมากกว่าการค้าขาย ซึ่งบางครั้งเกิดความอึดอัดใจบ้าง ชาวเขาบางคนย้ายลงมาอยู่มี่ราบ และคนจากที่ราบที่นับถือศาสนาคริตส์จำนวนหนึ่งก็ย้ายไปอยู่ที่สูงเช่นกัน

กษัตริย์ผู้กำจัดภัยพิบัติ

ปี 1974 – บทความเกี่ยวกับบันทึกจดหมายเหตุรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่บ้านเมืองประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติและโรคภัย เชื่อว่าเป็นผลมาจากพระพุทธรูป คือพระเสริม พระสุก และพระใสที่เพิ่งอัญเชิญจากเวียงจันทร์เข้ามาที่กรุงเทพฯ ถูกปิศาจเข้าครอบงำ จึงอัญเชิญพระทั้ง 3 องค์ไปไว้ที่วัดปทุมวนาราม หลังจากนั้นภัยพิบัติต่างๆก็หายไป

คนและอัตราส่วนที่ดิน

ปี 1976 – บทความโดย ลูเชียน แฮงส์ ตีพิมพ์ใน Contributions to Asian Studies ปีที่ 9 เรื่อง “ An Introduction to Land, Population and Structure : Three Guises of the Man-Land Ratio”