ผู้หญิงกับกระบวนการผลิตภาชนะดินเผา

บทความเรื่อง “ผู้หญิง ศูนย์กลางของงานช่างฝีมือเชิงอุตสาหกรรม: การผลิตภาชนะดินเผาในภาคอีสานของประเทศไทย” โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort ปรากฎในวารสาร Museum Anthropology ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 กล่าวถึงบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการผลิตภาชนะดินเผาของครอบครัวกลุ่มชาวไทยโคราช ผู้ศึกษาพบว่าเทคนิคและการจัดการทางสังคมในการผลิตภาชนะดินเผานั้นแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์

ภาชนะดินเผาและผ้าในภาคอีสานของประเทศไทย

ภาชนะดินเผาและผ้าในภาคอีสานของประเทศไทย การศึกษาเรื่อง “Little Things Mean A Lot: Pots and Cloth in Northeast Thailand” โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort ปรากฎในวารสารของสยามสมาคม ปีที่ 85 เล่มที่ 1และ 2 ผู้วิจัยศึกษาการทอผ้าและการผลิตภาชนะดินเผาในภาคอีสานของประเทศไทย เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด รวมไปถึงความสัมพันธ์ของชาติพันธุ์กับเทคโนโลยี บทบาทของเพศ ระดับชั้นทางสังคมในกระบวนการผลิต และมิติทางศิลปะของการผลิตเชิงวัฒนธรรม

เทคโนโลยีของภาชนะดินเผา

การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตภาชนะดินเผาร่วมสมัย ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort การศึกษานี้ได้แสดงขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตภาชนะดินเผา โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ผู้หญิงเป็นผู้ผลิตด้วยมือ

จดหมายจาก Leedom Lefferts ถึง Hanks

วันที่ 28 พฤศจิกายน 1978 – จดหมายจาก Leedom Lefferts ถึง Hanks เพื่อขอบคุณที่ให้ยืมผ้าไทย เพื่อนำมาจัดนิทรรศการและจัดบรรยาย พร้อมกันนี้ Lefferts ได้ส่งสำเนาบทความเกี่ยวกับผ้าทอของชาวไทยอีสานมาให้ เพื่อขอความคิดเห็นและข้อแนะนำจาก Hanks

จดหมายจาก Constance M. Wilson ถึง Lucien M. Hanks

วันที่ 27 พฤษภาคม 1987 – Wilson ได้ส่งสำเนารายงานการศึกษาเรื่อง “คาราวานชาวส่วย : การค้าและการเก็บภาษีในที่ราบสูงโคราชและหุบเขาแม่โขงกลาง ปี 1830-1870 มาให้กับ Hanks เพื่อเป็นข้อมูลช่วยสำหรับการศึกษาชาวเขา

เพชรพลอยในเมืองไทย

การบรรยายประกอบสไลด์ก่อนการประชุมประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ของสยามสมาคม โดย Raiko H Ruzic เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1964 บรรยายถึงแหล่งหินอันมีค่าในประเทศไทย และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเพชรพลอยกับชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์แวดล้อมด้วยหินอันมีค่าที่มีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เป็นเวทมนต์ เป็นยารักษาโรค และนำมาซึ่งโชคดี

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1

คำแปลภาษาอังกฤษจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 โดย A.B. Griswold และ ประเสริฐ ณ นคร จากวารสารของสยามสมาคม ปี 1970

การล่าวัวป่าและพิธีกรรม

การวิจัย โดย Francis H. Giles เรื่องการล่าวัวป่าที่จังหวัดอุบลราชธานีและกาฬสินธุ์ รวมถึงพิธีกรรมและความเชื่อที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมในการล่าวัวป่า การล่าวัวถือเป็นเกมกีฬารูปแบบหนึ่งที่ผู้ล่าจะขี่ม้า แต่ท่ามกลางเกมกีฬานั้นก็มีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ