ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลทางเหนือของประเทศไทย

ปี 1972 – สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการให้ค่าของคนและที่ดิน และเนื่องมาจากความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรง ชาวเขาจากหลายๆพื้นที่กลายเป็นคนชายขอบที่ไม่เป็นที่ต้องการและอยู่ชั้นล่างสุดในระดับชั้นของสังคม

บทวิจารณ์ : ราชอาณาจักรสยาม โดย ไซมอน เดอ ลาลู แบร์

ปี 1971 – ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ เป็นทูตจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปี 1678 ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลจากทางยุโรปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านหารค้าหรือทางการทหารในแถบอินดีส ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ ได้เขียนบรรยายถึงราชอาณาจักรสยามในเรื่อง “ความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์” โดยกล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในศตวรรษที่ 17 ทั้งเรื่องศิลปะ โครงสร้างทางสังคม การปกครองทางการเมือง ศาสนา ลักษณะของคนและการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนเรื่องของดาราศาสตร์และเวทมนต์

Staatsfeuer und Vestalinnen

ปี 1962 - บทความภาษาเยอรมัน โดย Edwin M.Loeb. พิมพ์ที่ Paideuma, Bend VIII, กรกฎาคม ปี 1962 เล่มที่ 1

Lettre aux amis du Vietnam

ปี 1957 – บทความภาษาฝรั่งเศส โดย Pierre Grison จากหนังสือ France-Asia ฉบับที่ 134 กรกฎาคม 1957

การกล่าวถึงเชื้อสายทางพ่อของชาวอาข่า

ปี 1974 - ในงานศพของชาวอาข่า ผู้ประกอบพิธีจะอ่านรายชื่อบรรพบุรุษและญาติทางฝ่ายพ่อที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเชื่อว่าบรรพบุรษจะมารับดวงวิญญาณของผู้ตายไปด้วย

หมู่บ้านปลูกข้าวในสยาม

รายงานเบื้องต้นการวิจัยที่บางชัน ปี 1948-1949 โดย Lauriston Sharp, Hazel M. Hauck, Kamol Janlekha และ Robert B. Textor มหาวิทยาลัยคอแนล หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการวางแผนเข้าไปทำวิจัยที่บางชัน การใช้อักขระและออกเสียงในรายงาน คำศัพท์ที่ใช้ ระบบเงินตรา เรื่องที่รายงานเบื้องต้นมี 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ชุมชนบางชัน; สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประชากร การจัดการทางสังคม รัฐบาลท้องถิ่น วัด โรงเรียน ส่วนที่สองคือเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของหมู่บ้าน; โครงสร้างของการประกอบอาชีพ การทำนา การดูแลควาย กระบวนการผลิต ที่ดิน การค้าข้าว การทำเกษตรกรรมอื่นๆ การเลี้ยงสัตว์ รายได้ งานศิลปะหัตถกรรม รูปแบบการบริโภค การทำบุญและให้ของขวัญ การให้สินเชื่อ การสะสมทุนของท้องถิ่น และส่วนที่สามคือสุขภาพและการควบคุมอาหาร; ศาสนาและสุขภาพ แพทย์และการใช้ยาพื้นบ้าน วิธีการรักษาแบบพื้นบ้าน ยาสมัยใหม่ สุขอนามัย ยา เครื่องดื่ม และสิ่งกระตุ้น อาหารและทัศนคติต่อาหาร ปัญหาจากการแก้ไขภาวะควบคุมอาหาร

บางชัน : ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนชนบทในประเทศไทย

ปี 1978 – Lauriston Sharp และ Lucien M Hanks ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนชานเมืองกรุงเทพฯ คือบางชัน โดยศึกษาความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในเรื่ององค์กรทางสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนา เป็นต้น ที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการพัฒนาท้องถิ่นและรัฐชาติ ในหนังสือได้บรรยายให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านในหลายๆช่วงเวลา อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารประเทศจากส่วนกลางในปี 1890 และภาวะขาดแคลนข้าวหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเปลี่ยนการทำอาชีพของคนในหมู่บ้านจากหาปลาไปสู่การปลูกข้าว

ข้าวกับมนุษย์ : นิเวศวิทยาทางการเกษตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปี 1972 – Lucien Hanks ได้แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และธรรมชาติของการทำเกษตรกรรม ความสามารถในการปรับตัว และความต้องการทางด้านสังคมและพลังงานที่มีความจำเป็นต่อการผลิต นอกจากนี้แฮงส์ยังได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงการผลิตข้าวและผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตลอด 120 ปี ของชาวบางชัน ชุมชนที่มีประชากรประมาณ 1700 คน อยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 22 ไมล์