การแต่งกายของชาวมองโกล

การแต่งกายของชาวมองโกลในอดีตและปัจจุบัน อารยธรรมแบบกลุ่ม Altaic

คุณความดีและอำนาจในระดับชั้นทางสังคมของไทย

ปี 1962 – บทความโดยลูเชียน แฮงส์ กล่าวถึงทัศนคติของบุคคลที่มีอยู่ในสถานะที่ตายตัวตามลำดับชั้นทางสังคม โดยแฮงส์จะมุ่งวิเคราะห์ไปที่การเคลื่อนไหวของบุคคลภายในสถานะที่ตายตัวเหล่านี้ สำหรับชาวพุทธการที่บุคคลมีระดับชั้นแตกต่างกันหรือการที่คนอยู่คนระดับกับสัตว์ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า “บุญ-ความดี” หรือ “บาป” อำนาจมาจากประสบการณ์หรือความสามารถพิเศษ หรือการมีเครื่องรางของขลัง อำนาจอาจเป็นของใครก็ได้ แต่ผลสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีบุญ

ยวนหรือไทยเหนือ

ปี 1983 – ยวนบอกว่าตนเองเป็นคนไทยเหนือ (คนเมือง) แต่เป็นคนไทยที่แตกต่างจากคนไทยที่อยู่ที่อื่นๆ ของประเทศ และต่างจากคนที่อยู่ในรัฐฉาน ลื้อ และลาว

ที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย

พจนานุกรมภูมิศาสตร์ปี 1964 1969 และ 1974 แผนที่ที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย

คนพิการในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก

ปี 1948 - การดูแลคนพิการและการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการจะมีมากขึ้นในสังคมที่ 1.ประชากรและและการกระจายความช่วยเหลือมีความเท่าเทียมกัน 2.การแข่งขันเรื่องความสำเร็จส่วนบุคคลหรือกลุ่มมีน้อยลง และ 3.เกณฑ์ในการประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของชนชั้นทางสงัคม แต่เกี่ยวกับความสามารถส่วนบุคคลในโครงสร้างทางสังคมแบบประชาธิปไตย

การเป็นนักท่องเที่ยวท่ามกลางคนท้องถิ่น

ปี 1970 – บทความ “Travelers among people” โดยลูเชียนและเจน แฮงส์ เพื่อระลึกถึงพระยาอนุมานราชธน เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของพระยาอนุมานราชธนเมื่อครั้งไปอยู่ที่อเมริกา ที่ต้องเผชิญกับความแตกต่างของผู้คน วัฒนธรรม และความรู้สึกโดดเดี่ยว

การแข่งเรือ

ปี 1973 – บทวิจารณ์บทความ “La Course de Pirogues au Laos : un Complexe Cultural” ของ Charles Archaimbault ลงวารสารของสยามสมาคม กรกฎาคม 1973 ซึ่งกล่าวถึงประเพณีการแข่งเรือบริเวณแม่น้ำโขงของประเทศลาว

การประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18

ปี 1984 - บทนำการประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 โดย ลูเชียน แฮงส์ ลงในวารสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ปีที่ 15 เล่มที่ 2 ปี 1984

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในชุมชนคนไทย

ปี 1955 – การศึกษาปัญหาโรคระบาด(คอตีบ) ในชุมชนบางชัน ปฏิกริยาของชาวบ้านที่มีต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การวางแผนและจัดโครงการรณรงค์เพื่อไม่ให้เกิดโรค ทัศนคติของชาวชุมชนบางชันที่มีต่อโรค รวมถึงปัจจัยที่มีต่อประสิทธิผลในการสื่อสารเรื่องการฉีดวัคซีน