ประเทศที่ถูกลืม ( 20 สิงหาคม 1990)

บทความ “ประเทศที่ถูกลืม” (Forgotten Country) โดย Stan Sesser จากนิตยสาร The New Yoker ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 1990 ซึ่งพูดถึงลาวและเวียดนาม

คนอเมริกันกับการทำงานในประเทศไทย

บทสัมภาษณ์ Lucien M. Hanks เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานวิจัยในประเทศไทย ในรายการวิทยุของ USIS ออกอากาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1954 ณ สถานีทดลองออกอากาศ กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ

รายงานการสำรวจภาคสนามภาคเหนือของประเทศไทย

รายงานการสำรวจภาคสนามภาคเหนือของประเทศไทย โดย Lucien และ Jane Hanks วันที่ 8-31 สิงหาคม 1963 การสำรวจครั้งนี้เพื่อเลือกพื้นที่ที่จะเข้าไปทำวิจัย รวมถึงเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวางแผนงานวิจัย การสำรวจครั้งนี้ได้ไปที่นิคมเชียงดาว เมืองพร้าว แม่จัน ตาก (ดอยมูเซอ) แพร่ น่าน

โครงการสำรวจทางมานุษยวิทยาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การสำรวจชาวเขาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยา ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐบาลแห่งชาติกับสวัสดิการสังคมที่รัฐมีให้กับคนกลุ่มนี้ ที่สนใจเลือกพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีคนรู้จักคนกลุ่มนี้ไม่มาก ประเด็นที่ศึกษาคือคนกลุ่มนี้มีการซึมซับความเป็นชาติของประเทศที่ตนอาศัยอย่างไร และมีการคงไว้ซึ่งชีวิตความเป็นชาวเขาของตนอย่างไร ความคิดที่จะย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของชาวเขาในปัจจุบันสามารถสะท้อนความเคลื่อนไหวในอดีตของพวกเขาได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยาและรัฐบาลแห่งชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงร่างงานวิจัยสำหรับการสำรวจพื้นที่เชิงเขาของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ปี 1974

การสำรวจนี้เป็นการสำรวจที่สืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลพื้นฐานทางชาติพันธุ์ในประเด็นต่างๆ ของหมู่บ้านในพื้นที่สูงของแม่กก แถบภาคเหนือของประเทศไทย ในปี 1964 และ 1969 โดยการสำรวจในครั้งนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบข้อมูลกับการสำรวจในปี 1964 และ 1969 เพื่อหาความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน สิ่งที่ต้องการค้นหาคือ การเพิ่มของจำนวนประชากร จำนวนของหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวของหมู่บ้าน การสูญเสียพื้นที่ป่า และการติดต่อกับคนไทยและเจ้าหน้าที่รัฐ

Ontology of Rice Reflection

วารสาร Education about Asia ปีที่ 9 เล่มที่ 3 ปี ค.ศ. 2004 ตีพิมพ์บทความของ Jane R. Hanks เรื่อง สิ่งสะท้อนที่ทำให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของข้าว (Ontology of Rice Reflection)

ความเปลี่ยนแปลงของเมืองอันหวาง (Anwang)

บทความโดย George Orick ตีพิมพ์ลงในรายงานของมูลนิธิฟอร์ด (The Ford Foundation) ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 ปี 1992 กล่าวถึงเมืองอันหวาง มลฑลยูนาน ประเทศจีน พื้นที่ 94%ของเมืองเป็นภูเขา เป็นเขตของรัฐบาลจีนและได้รับการสนับสนุนจากมูลินิธิฟอร์ด รัฐเข้าไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่ห่างไกลที่มีการดำรงชีพมาแต่ช้านานด้วยการทำเกษตรกรรม รัฐบาลเรียกสิ่งนี้ว่า “การบรรเทาความยากจน” ตอนนี้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น อันหวางก่อตั้งขึ้นจากชนกลุ่มน้อยที่ถูกผลักดันมาจากดินแดนชายขอบจากการขยายตัวของชาวฮั่น ชาวบ้านเริ่มคิดถึงการนำสินค้าออกไปค้าขายนอกหมู่บ้าน แต่ยังติดเรื่องการศึกษาและอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แม้จะมีถนนใช้แล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ความเปลี่ยนแปลงที่อันหวางมาจากการยกเลิกระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1982 และแทนที่ด้วยฝ่ายปกครองแบบชุมชนเล็กๆ และดูแลด้วยการตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ระบบความรับผิดชอบ”

Ontology of Rice

บทความ โดย Jane R. Hanks ปี 1960 กล่าวถึง ชุมชนที่ปลูกข้าวแถบภาคกลางของประเทศไทย ปรากฎพิธีกรรมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มตั้งแต่การเริ่มงอกของข้าว ไถ หว่าน ปลูก เก็บเกี่ยว และการทานข้าว โดยผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมเหล่านั้น งานในที่นาและพิธีกรรมมักจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่สำหรับสังคมไทยผู้หญิงเป็นผู้ยึดบทบาทนี้ คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ เชื่อว่า “แม่ซื้อ” ซึ่งเป็นวิญญาณผู้หญิงเป็นผู้ดูแลขวัญ ชาวนาเชื่อว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ข้าว มีแม่เป็นผู้ปกปักษ์รักษา ผู้หญิงจึงเป็นผู้ทำพิธีกรรม

รายงานเบื้องต้นเรื่อง ชาวบ้านในพื้นที่สูงจากหุบเขาแถบแม่กก ชายแดนพม่า

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลโดย เบนนิงตัน-คอแนล การสำรวจชาวเขา ในระหว่างเดือนธันวาคม ปี 1973 ถึงพฤษภาคม ปี 1974 หลักๆ ที่แถบจังหวัดเชียงราย รวมถึงพื้นที่เล็กๆในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มสำรวจเบนนิงตัน-คอแนล ยังได้เก็บข้อมูลในพื้นที่เดียวกันนี้ในปี 1964 และ 1969 เช่นกัน รายงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจทั่วไป จำนวนของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ในปี 1964 1969 และ 1974 รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่