ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น

16 มิ.ย. 1965 (จากการให้ข้อมูลของพรและช่วย) สิ่งที่แสดงถึงความเป็นลื้อ โสร่ง ทรงผม เสื้อ กำลังจะสูญหายไป เหลือแค่คนลื้อและภาษาลื้อ ภาษาถิ่นเป็นสิ่งแยกความแตกต่างของคนลื้อกับกะหล่อมและระหว่างคนบ้านแพดและคนบ้านแวน ชาวกะหล่อมถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ แต่คนลื้อถูกมองว่าขยัน ช่วยบอกว่ากะหล่อม ไทย ลาว ลื้อ เป็นพวกเดียวกันเพราะเข้าใจภาษาของกันและกัน เจ๊กและฮ่อเป็นพวกเดียวกัน ส่วนชาวเขาเป็นอีกพวกหนึ่ง

การพูดและคารม

16 มิ.ย. 1965 การใช้สำนวนคารมคมคาย แม่จัน บุญศรี เงิน เป็นคนพูดเก่ง คนที่พูดไม่เก่งเรียกว่า บ่จ้างอู้ หรือ บ่ฮู้ความ หยอกเล่น คือการพูดอะไรบางอย่างให้ผู้อื่นหัวเราะ

การวัด

16 มิ.ย. 1965 ระบบการวัด – ศอก, ศอกขนาด, วา, ,มือ, คีบ (ระยะจากนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง), คืบ (ระยะจากนิ้วกลางถึงนิ้วโป้ง)

คำเรียกชื่อ

16 มิ.ย. 1965 คำเรียกชื่อ อีฟองเรียกอีหล้าเมื่อได้รับคำสั่งเร่งด่วน แสงเรียกหนานช่วยว่าพ่ออีพรหรือพ่อบ่านอม ไม่เรียกชื่อจริงหรือหนาน แสงจะเรียกตนเองว่าเปิ้นเมื่อพูดกับผู้หญิงสูงอายุ เมื่อหนานช่วยพูดกับแสงก็เรียกตนเองว่าเปิ้น

สุขและสาย

16 มิ.ย. 1965 หญิงสาวที่ไม่เคยแต่งงานแต่มีลูกไม่เรียกว่า “แม่ฮ้าง” จะเรียกชื่อไปจนกว่าลูกจะออกเดือน จากนั้นจึงเรียกว่า “แม่บ่าเล็ก” ชาวบ้านจะนินทาว่าเธอไม่ดี โง่ ลูกที่เกิดมาจะไม่ได้รับมรดก เรียกว่า “ลูกทาง” การมีลูกโดยไม่แต่งงานเรียกว่า “สู่กันบ่ดาย” ถือเป็นเรื่องไม่ดี ส่วนการได้แต่งงานกัน เรียกว่า “เอากันแต๊”

ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น

17 มิ.ย. 1965 ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น ความแตกต่างของลื้อ กะหล่อม ลาว ในเรื่องการสัก ภาษาพูด การเกล้าผม กางเกง ซิ่น การทอผ้า เตาไฟ การแต่งงานข้ามชาติพันธุ์และภาษาพูดของลูกที่เกิดมา ความเชื่อในเรื่องผีบ้าน ทัศนคติของหนุ่มสาวในการแต่งกายแบบลื้อ

การเข้าโรงเรียน

17 – 30 มิ.ย. 1965 (ข้อมูลจากคำปิง) รายชื่อคนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยม ผู้ใหญ่บ้านต้องการส่งไพไปเรียนมัธยม มุนส่งลูกชายไปเรียนมัธยมเทอมละ 100 บาท เมื่อจบ ม.6 จะส่งไปเรียนต่อที่เชียงราย ถ้าเรียนจบ ม.8 สามารถเป็นครูได้ แต่การส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนตำรวจที่ลำปางจะแพงกว่า คนที่ไม่ส่งลูกเรียนมัธยมเป็นเพราะไม่มีเงิน

การเกี้ยวพาราสี

17 มิ.ย. 1965 การเกี้ยวพาราสี หนุ่มสาวจะเกี้ยวกันผ่านทางจดหมาย ที่บ้านแวนจะใช้วิธีการเกี้ยวโดยนำอาหารหรือดอกไม้มาให้ที่ทุ่ง หรือบางครั้งใช้การเป่าปี่