การลดหย่อนโทษ

17 ก.พ. 1969 มอร์แมนเข้าไปสังเกตการณ์พิจารณาคดีในศาลที่วินิตออกนั่งบัลลังก์เป็นผู้พิพากษา วินิตพิพากษาลดหย่อนโทษจำคุกให้กับผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์) 3 คนที่กระทำความผิด และลดหย่อนโทษให้ผู้ต้องหาอีกคนซึ่งไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดมาก่อน

สัมภาษณ์ธานินทร์

5, 7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ธานินทร์โดยมีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ระบบลูกขุนที่ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาคดีไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก เพราะคนไทยเชื่อว่าอำนาจในการตัดสินคดีความเป็นของกษัตริย์ อีกทั้ง สังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการทุจริต และการมีสายสัมพันธ์ส่วนบุคคล ซึ่งหากลูกขุนรู้จักกับผู้ต้องหาอาจมีการตัดสินคดีความเข้าข้างกันได้ 2) จำเป็นต้องมีการสอนวิธีการสอบถามความจริงจากพยานให้กับผู้ช่วยผู้พิพากษา 3) การตัดสำนวนคำพิพากษาให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งเพื่อที่ตำรวจจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

สัมภาษณ์วิมลสิริ

7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์วิมลสิริ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ความสำคัญของศาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีจำนวนคดีความเกิดขึ้นสูง และมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก 2) วิมลสิริมีหน้าที่เป็นเลขาฯ ของรัฐมนตรี และคอยช่วยเหลือตอบคำถามต่างๆ ในรัฐสภา ตอนนี้เธอย้ายมาทำหน้าที่ตรวจสอบความคิดเห็นของสาธารณชนที่มีต่อการทำงานศาล 3) การโยกย้ายผู้พิพิพากษาซึ่งเกิดจากการร้องเรียน หรือเกิดจากการขัดแย้งระหว่างผู้พิพากษากับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

สัมภาษณ์ Bill Klaussner

3, 7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ Klaussner มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) การอนุญาตให้ทนายความระดับ 2 (second class lawyer) สามารถว่าความในคดีความระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกับทนายความระดับ 1 (first class lawyer) 2) ภายในกระทรวงยุติธรรมเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายรัฐมนตรีฯ ในเรื่องงบประมาณ 3) ผู้พิพากษาส่วนใหญ่จะเชื่อถือรายงานเบื้องต้นที่ทางตำรวจส่งมาประกอบการพิจารณาคดี แต่ในบางครั้งตำรวจเองก็รับสินบนเพื่อเขียนสำนวนคดีความให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 4) มารุต และ Klaussner มีแผนการที่จะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป และจัดพิมพ์ตำรากฎหมายสำหรับทนายความ 5) ความเห็นของ Klaussner เกี่ยวกับบทบาทของคนรุ่นใหม่ (มารุต) ในสภาทนายความ และความเป็นอิสระของศาลฎีกาในการตัดสินคดีความ

ความคิดเห็นของสุธนที่มีต่อการทำงานของตำรวจ

14 ม.ค. สุทนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของตำรวจ เช่น 1) การใช้กำลังข่มขู่ผู้ต้องสงสัยในระหว่างการสอบสวน 2) การอุปโลกน์ผู้ให้ข้อมูลในจับกุมผู้ต้องหาขึ้นมาเพื่อทำเรื่องขอรับรางวัลนำจับเสียเอง 3) การรับสินบนเพื่อล้มคดี 4) การเพิกเฉยต่อการแจ้งความของประชาชน หากไม่มีการจ่ายสินบนให้

สัมภาษณ์ ดร.ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ หัวหน้าภาคนิติเวช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22 พ.ค. 1969 บดินทร์สัมภาษณ์ยงยุทธ มีหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจ เช่น 1) เขาได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบเขม่าดินปืน และร่องรอยของวิถีกระสุนในคดีสังหารนางจันเทียม 2) ค่าจ้างที่ผู้ต้องหาได้รับจากการสังหารนางจันเทียม และค่าจ้างวานในคดีลอบสังหารอื่นๆ 3) บ่อยครั้งที่ผู้ต้องหาในคดีลอบสังหารจะได้รับการจ้างวานจากบรรดาผู้มีอิทธิพล (ตำรวจ นักพนัน และพ่อค้าฝิ่น) 4) ลูกชายนางจันเทียมสงสัยว่าพ่อของเขาอาจเป็นคนจ้างวานให้สังหารแม่ของเขาเอง 5) การขึ้นให้การของยงยุทธที่ศาลในฐานะที่เป็นผู้เชียวชาญพิเศษทางด้านนิติเวช

สัมภาษณ์หัวหน้านายตำรวจประจำ จ.น่าน

18 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์หัวหน้านายตำรวจประจำ จ.น่าน มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) จอมพลถนอม กิตติขจรมีนโยบายปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด 2) ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการลักลอบตัดไม้ใน จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง 3) คดีความส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นใน จ.น่านจะเป็นคดีเกี่ยวกับการลับลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย ส่วนคดีลักขโมยสัตว์เลี้ยงมีเพียงเล็กน้อย สัตว์ที่ถูกขโมยจะถูกนำไปกินกันเอง มิได้ถูกนำไปขายต่อเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆ

ความคิดเห็นของสุธนที่มีต่อการทำงานของตำรวจ

28 มี.ค. 1969 สุทนมองว่า การใช้อำนาจกดขี่ประชาชนของตำรวจเป็นสาเหตุที่ทำให้คอมมิวนิสต์สามารถแทรกซึมเข้ามาภายในประเทศ นอกจากนี้ เงินช่วยเหลือที่สหรัฐอเมริกาให้กับไทยตกถึงมือประชาชนทั่วไปเพียงแค่ 30% เท่านั้น ส่วนที่เหลือถูกเก็บเข้ากระเป๋าของบรรดาข้าราชการ

ขั้นตอนการสืบสวนของตำรวจ

27 ก.พ. 1969 ตำรวจมีอำนาจมากขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และมักเข้าทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยด้วยการใช้กำลัง นอกจากนี้ จำเลยและพยานต่างหวาดกลัวที่จะให้การกับตำรวจในระหว่างขั้นตอนการสืบสวน แต่สะดวกใจที่จะให้การระหว่างขั้นตอนการพิจารณาคดีในศาลมากกว่า