11. รหัส : H-1-1-10

โครงการสำรวจทางมานุษยวิทยาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| การสำรวจชาวเขาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยา ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐบาลแห่งชาติกับสวัสดิการสังคมที่รัฐมีให้กับคนกลุ่มนี้ ที่สนใจเลือกพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีคนรู้จักคนกลุ่มนี้ไม่มาก ประเด็นที่ศึกษาคือคนกลุ่มนี้มีการซึมซับความเป็นชาติของประเทศที่ตนอาศัยอย่างไร และมีการคงไว้ซึ่งชีวิตความเป็นชาวเขาของตนอย่างไร ความคิดที่จะย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของชาวเขาในปัจจุบันสามารถสะท้อนความเคลื่อนไหวในอดีตของพวกเขาได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยาและรัฐบาลแห่งชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

12. รหัส : H-1-1-11

โครงร่างงานวิจัยสำหรับการสำรวจพื้นที่เชิงเขาของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ปี 1974

| การสำรวจนี้เป็นการสำรวจที่สืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลพื้นฐานทางชาติพันธุ์ในประเด็นต่างๆ ของหมู่บ้านในพื้นที่สูงของแม่กก แถบภาคเหนือของประเทศไทย ในปี 1964 และ 1969 โดยการสำรวจในครั้งนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบข้อมูลกับการสำรวจในปี 1964 และ 1969 เพื่อหาความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน สิ่งที่ต้องการค้นหาคือ การเพิ่มของจำนวนประชากร จำนวนของหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวของหมู่บ้าน การสูญเสียพื้นที่ป่า และการติดต่อกับคนไทยและเจ้าหน้าที่รัฐ | เอกสาร บทความ

13. รหัส : H-1-2-3

Ontology of Rice Reflection

| วารสาร Education about Asia ปีที่ 9 เล่มที่ 3 ปี ค.ศ. 2004 ตีพิมพ์บทความของ Jane R. Hanks เรื่อง สิ่งสะท้อนที่ทำให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของข้าว (Ontology of Rice Reflection) | เอกสาร บทความ

14. รหัส : H-1-2-2

ความเปลี่ยนแปลงของเมืองอันหวาง (Anwang)

| บทความโดย George Orick ตีพิมพ์ลงในรายงานของมูลนิธิฟอร์ด (The Ford Foundation) ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 ปี 1992 กล่าวถึงเมืองอันหวาง มลฑลยูนาน ประเทศจีน พื้นที่ 94%ของเมืองเป็นภูเขา เป็นเขตของรัฐบาลจีนและได้รับการสนับสนุนจากมูลินิธิฟอร์ด รัฐเข้าไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่ห่างไกลที่มีการดำรงชีพมาแต่ช้านานด้วยการทำเกษตรกรรม รัฐบาลเรียกสิ่งนี้ว่า “การบรรเทาความยากจน” ตอนนี้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น อันหวางก่อตั้งขึ้นจากชนกลุ่มน้อยที่ถูกผลักดันมาจากดินแดนชายขอบจากการขยายตัวของชาวฮั่น ชาวบ้านเริ่มคิดถึงการนำสินค้าออกไปค้าขายนอกหมู่บ้าน แต่ยังติดเรื่องการศึกษาและอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แม้จะมีถนนใช้แล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ความเปลี่ยนแปลงที่อันหวางมาจากการยกเลิกระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1982 และแทนที่ด้วยฝ่ายปกครองแบบชุมชนเล็กๆ และดูแลด้วยการตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ระบบความรับผิดชอบ” | เอกสาร บทความ

15. รหัส : H-1-2-1

Ontology of Rice

| บทความ โดย Jane R. Hanks ปี 1960 กล่าวถึง ชุมชนที่ปลูกข้าวแถบภาคกลางของประเทศไทย ปรากฎพิธีกรรมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มตั้งแต่การเริ่มงอกของข้าว ไถ หว่าน ปลูก เก็บเกี่ยว และการทานข้าว โดยผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมเหล่านั้น งานในที่นาและพิธีกรรมมักจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่สำหรับสังคมไทยผู้หญิงเป็นผู้ยึดบทบาทนี้ คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ เชื่อว่า “แม่ซื้อ” ซึ่งเป็นวิญญาณผู้หญิงเป็นผู้ดูแลขวัญ ชาวนาเชื่อว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ข้าว มีแม่เป็นผู้ปกปักษ์รักษา ผู้หญิงจึงเป็นผู้ทำพิธีกรรม | เอกสาร บทความ

16. รหัส : H-1-1-13

รายงานเบื้องต้นเรื่อง ชาวบ้านในพื้นที่สูงจากหุบเขาแถบแม่กก ชายแดนพม่า

| รายงานฉบับนี้เป็นรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลโดย เบนนิงตัน-คอแนล การสำรวจชาวเขา ในระหว่างเดือนธันวาคม ปี 1973 ถึงพฤษภาคม ปี 1974 หลักๆ ที่แถบจังหวัดเชียงราย รวมถึงพื้นที่เล็กๆในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มสำรวจเบนนิงตัน-คอแนล ยังได้เก็บข้อมูลในพื้นที่เดียวกันนี้ในปี 1964 และ 1969 เช่นกัน รายงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจทั่วไป จำนวนของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ในปี 1964 1969 และ 1974 รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ | เอกสาร บทความ

17. รหัส : H-1-1-12

แบบสอบถามสำรวจหมู่บ้าน

| เก็บข้อมูลชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ความผูกพันกับชาวเขากลุ่มอื่น ประวัติการตั้งถิ่นฐานจากอดีตสู่ปัจจุบัน กลุ่มของชาติพันธุ์ต่างๆในหมู่บ้าน ข้อมูลของประชากรแต่ละครัวเรือน การปลูกข้าว ทรัพย์สินที่ถือครอง รายรับรายจ่าย การจ้างงาน ความสัมพันธ์กับหมู่บ้านอื่น การติดต่อกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ลักษณะพิเศษของหมู่บ้าน | เอกสาร บทความ

18. รหัส : H-1-1-8

การเปลี่ยนแปลงการรักษาความปลอดภัย (เยี่ยมนายพลต้วน ซี เหวิน)

| Hanks เดินทางไปพบนายพลต้วน ซี เหวิน ที่หมู่บ้านสันติศิริ ดอยแม่สะลองในช่วงปีใหม่ ปี 1979 แต่เดิมที่นี่คือค่ายทหาร ที่มีการต่อสู้กันในปี 1964 ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านของคนจีน ชาวบ้านที่นั่นปลูกชาเป็นอาชีพแทนการปลูกฝิ่นแบบเมื่อก่อน นอกจากนี้ Hanks ได้สอบถามถึงประวัติความเป็นมาของนายพลต้วน ซี เหวิน | เอกสาร บทความ

19. รหัส : H-1-1-9

รายงานการสำรวจพื้นที่สูงของประเทศไทยเดือนแรกของเบนนิงตัน-คอแนล

| วันที่ 6 ธันวาคม 1963 – รายงานจาก Lucien Hanks ถึงกรมสวัสดิการสังคม ตำรวจชายแดน สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อรายงานการสำรวจเดือนแรกในพื้นที่นิคมเชียงดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ของคณะสำรวจทางมานุษยวิทยาเบนนิงตัน-คอแนล ในพื้นที่สูงของประเทศไทย รายงานถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของทีมนักวิจัยทำงานในพื้นที่ รายชื่อนักวิจัยของทีมสำรวจ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในนิคม ได้แก่ ลาหู่และแม้ว การทำมาหากิน ความสัมพันธ์กับคนไทย ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ และการศึกษาของเด็ก | เอกสาร บทความ

20. รหัส : H-1-1-6

Entourage in Southern Thailand

| การศึกษาโดย Lucien M. Hanks เกี่ยวกับระบบชนชั้นแบบปิรามิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนาจของผู้นำที่มีต่อผู้ตามขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มนักการเมืองดึงความสนใจของประชาชนด้วยข้อตกลงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ตามของคณะหนึ่งอาจเป็นผู้นำอีกคณะหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปตามระดับชั้นมากกว่าแบบเท่าเทียมกันของตะวันตก คนจนต้องการคนปกป้องดูแลและความเป็นอยู่ที่ดี | เอกสาร บทความ