21. รหัส : H-1-1-9

รายงานการสำรวจพื้นที่สูงของประเทศไทยเดือนแรกของเบนนิงตัน-คอแนล

| วันที่ 6 ธันวาคม 1963 – รายงานจาก Lucien Hanks ถึงกรมสวัสดิการสังคม ตำรวจชายแดน สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อรายงานการสำรวจเดือนแรกในพื้นที่นิคมเชียงดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ของคณะสำรวจทางมานุษยวิทยาเบนนิงตัน-คอแนล ในพื้นที่สูงของประเทศไทย รายงานถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของทีมนักวิจัยทำงานในพื้นที่ รายชื่อนักวิจัยของทีมสำรวจ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในนิคม ได้แก่ ลาหู่และแม้ว การทำมาหากิน ความสัมพันธ์กับคนไทย ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ และการศึกษาของเด็ก | เอกสาร บทความ

22. รหัส : H-1-1-6

Entourage in Southern Thailand

| การศึกษาโดย Lucien M. Hanks เกี่ยวกับระบบชนชั้นแบบปิรามิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนาจของผู้นำที่มีต่อผู้ตามขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มนักการเมืองดึงความสนใจของประชาชนด้วยข้อตกลงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ตามของคณะหนึ่งอาจเป็นผู้นำอีกคณะหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปตามระดับชั้นมากกว่าแบบเท่าเทียมกันของตะวันตก คนจนต้องการคนปกป้องดูแลและความเป็นอยู่ที่ดี | เอกสาร บทความ

23. รหัส : H-1-1-7

ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในแถบนี้จำนวนมากแต่งงานและตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศ ใหม่ บางคนกลับไปเมืองจีนเมื่อหญิงจีนไม่สามารถอพยพตามมาได้ ชายจีนจึงต้องแต่งงานกับหญิงท้องถิ่น จึงก่อให้เกิดกระบวนการกลืนชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกลืนชาติถูกต่อต้านด้วยปัจจัยสองอย่างคือ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงพยายามที่จะคงวัฒนธรรมของตนไว้ และสองความเป็นศัตรู ด้วยเหตุที่คนจีนกลุ่มนี้และกลุ่มทายาทคนจีนตัดสินใจเองในการหาภรรยาหรือ จัดการชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหานี้เป็นที่มาของชาตินิยมอย่างรุนแรง ดังนั้นแม้ว่าคนในรุ่นๆต่อมาจะไม่ได้อยู่ในประเทศจีน แต่พฤติกรรมความเป็นคนจีนของคนจีนโพ้นทะเลจะยังคงอยู่ คนจีนที่มีอายุแถบนี้มีหลายกลุ่มหลายภาษา นอกจากนี้ยังแตกต่างไปไปตามอาชีพการงาน ความรวยความจน และชนชั้น บทบาททางเศรษฐกิจของคนจีนมีความสำคัญทางการเมือง โดยเข้ามาเป็นตัวกลางของช่องว่างระหว่างชนชั้นปกครองกับชาวบ้าน การเพิ่มจำนวนประชากรจีนไม่ได้เพิ่มจากการอพยพเข้ามา แต่จากอัตราการเกิดของประชากร กลุ่มคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดคือกลุ่มจีนฮ่อซึ่งมาจากยูนนาน อีกกลุ่มที่มาจากยูนนานคือส่วนที่เหลือของกลุ่มก๊กมินตั๋ง อาศัยอยู่แถบชายแดนของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

24. รหัส : H-1-1-4

เปอร์เซียและจีน: การตอบโต้ต่อการบุกรุกเข้ามาของชาวมองโกล

| บทความเรื่อง “เปอร์เซียและจีน: การตอบโต้ต่อการบุกรุกเข้ามาของชาวมองโกล” โดย Lucien M. Hanks | เอกสาร บทความ

25. รหัส : H-1-1-5

ลาหู่

| ชาวลาหู่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศจีนและจำนวนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยและแถบพม่า ชาวลาหู่จำนวนมากยังขาดการศึกษา ปัจจัยที่ลบล้างความเป็นลาหู่ดั้งเดิมคือการศึกษาการถูกเกณฑ์ทหาร แต่ในทางกลับกับการศึกษาก็มีประโยชน์ต่อชาวลาหู่เช่นกัน ทำให้มีความรู้มากขึ้น มีสุขอนามัยที่ดีและมีความภาคภูมิใจในความเป็นตัวเอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือรูปลักษณ์ภายนอกและภาษา ด้านศาสนาในกลุ่มลาหู่ยังคงเข้มแข็งอีก ชาวลาหู่เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ สำหรับในประเทศไทยลาหู่เป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่มคนระดับเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่ค่อยมีการติดต่อกับคนในพื้นที่ราบ จึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ซึ่งทำให้คนพื้นที่ราบประเมินลาหู่ต่ำไป ชาวลาหู่จึงอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่ของตนเพียงลำพัง ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ยาก | เอกสาร บทความ

26. รหัส : H-1-1-2

อาข่า

| มาจากจีน อาศัยอยู่ที่รัฐฉานของพม่าก่อนที่จะเข้ามาอยู่แถบเทือกเขาของเชียงราย (คนกลุ่มนี้เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ Hanks) เป็นกลุ่มที่แผ่ขยายมาจากตอนใต้สุดของกลุ่มคนที่พูดภาษาทิเบต-พม่า ซึ่งรวม woni และ hani ในจีนด้วย เช่นเดียวกับกลุ่มที่พูดภาษาทิเบต-พม่า กลุ่มอื่นๆ พวกเขาคงความเป็นชาวเขาและประวัติศาตร์ของตนเองผ่านบทเรียนท่องจำชื่อคนและสถานที่ | เอกสาร บทความ

27. รหัส : H-1-1-3

อำนาจของผู้หญิงอาข่า

| การศึกษา โดย Jane R. Hanks ศึกษาวิถีชีวิตของชาวอาข่าที่สะท้อนให้เห็นได้จากบทบาทของแต่ละเพศ ในชุมชนและครัวเรือน มีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงกิจวัตรและพิธีกรรม ภาพชีวิตของผู้หญิงอาข่าเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายและหญิง การให้กำเนิด โดยเฉพาะการตั้งครรภ์เป็นอำนาจอย่างหนึ่งของผู้หญิงอาข่า | เอกสาร บทความ

28. รหัส : H-1-1-1

Reflections on the Ontology of Rice

| บทความ โดย Jane R. Hanks ปี 1960 กล่าวถึง ชุมชนที่ปลูกข้าวแถบภาคกลางของประเทศไทย ปรากฎพิธีกรรมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มตั้งแต่การเริ่มงอกของข้าว ไถ หว่าน ปลูก เก็บเกี่ยว และการทานข้าว โดยผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมเหล่านั้น งานในที่นาและพิธีกรรมมักจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่สำหรับสังคมไทยผู้หญิงเป็นผู้ยึดบทบาทนี้ คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ เชื่อว่า “แม่ซื้อ” ซึ่งเป็นวิญญาณผู้หญิงเป็นผู้ดูแลขวัญ ชาวนาเชื่อว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ข้าว มีแม่เป็นผู้ปกปักษ์รักษา ผู้หญิงจึงเป็นผู้ทำพิธีกรรม | เอกสาร บทความ

29. รหัส : H-1-2-15

การประชุมนานาชาติไทยศึกษา

| เอกสารการประชุมนานาชาติครั้งที่ 4 เรื่องไทยศึกษา, ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2533 คุนหมิง ประเทศจีน, ตารางการประชุมในแต่ละวัน หัวข้อและผู้นำเสนอ โดยเจน แฮงค์ ได้นำเสนอเรื่องมรดกของลัทธิขงจื้อในกลุ่มชาวเขา, รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “ผีเมือง: สัญลักษณ์ของรัฐและความเป็นผู้นำในกลุ่มไทดำ” โดย Dr. J.A. Placzek เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “พลวัตของกลุ่มชาติพันธุ์ของคนไทสิบสองปันนาในช่วงยุคสาธารณรัฐ โดย Shih-Chung Hsieh บทความเรื่อง “Theatre in Thailand” ละครของไทย โดยสุรพล วิรุฬลักษณ์ เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “The Origin of Bo-Le” ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรสุโขทัยและราชวงศ์หมิงช่วงต้นศตวรรษที่ 15 โดย Sun Laichen เอกสารประกอบการประชุม เรื่อง “สภาพแวดล้อมทางสังคมและบริบท: การสูญหายไปของม้งขาว” โดย Nicholas Tapp” บทความ “โครงสร้างทางสังคมและบทบาทของพราหมณ์ในประเทศไทยสมัยก่อน” ประวัติและผลงานของ Amarjiva Lochan นักวิจัยอาวุโส ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดลี | เอกสาร บทความ

30. รหัส : H-1-3-1

ความมั่นคงทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

| รวมบทความจากการประชุมประจำปีของ The American Ethnological Society ปี 1957 | เอกสาร บทความ