101. รหัส : H-1-4-40

พิธีกรรมและจักรวาล : บันทึกของอาข่า

| ปี 1968 – บันทึกจากประสบการณ์ของ เจน แฮงส์ เมื่อครั้งลงไปศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่าที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ปี 1963-64 เจนพบว่าวัฒนธรรมเก่าของชาวอาข่ายังคงทำหน้าที่และเป็นสิ่งสำคัญอยู่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอิทธิพลของรัฐบาลไทย การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมและการเมืองของโลกสมัยใหม่ ทั้งจากเอเชียและตะวันตก | เอกสาร บทความ

102. รหัส : H-1-4-41

การแต่งงานของชาวอาข่า

| ปี 1969 – ขั้นตอนการแต่งงานของชาวอาข่า พิธีกรรมและผู้ประกอบพิธีกรรม การแต่งกายของเจ้าสาว งานเลี้ยง และอาหาร | เอกสาร บทความ

103. รหัส : H-1-4-42

ชาวเขาในจังหวัดเชียงราย : ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลง

| ปี 1981 – ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพื้นราบกับชาวเขาเปลี่ยนจากความพันธ์แบบคู่ขนานไปสู่การผสมผสานกันมากขึ้น เจน แฮงส์ ได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีทางของการเปลี่ยนแปลงนี้ | เอกสาร บทความ

104. รหัส : H-1-4-43

คุณลักษณะของชาวบ้านในชนบทไทย

| ปี 1965 –ชาวบ้านบางชันเชื่อว่าคนเรามีขวัญและวิญญาณ ขวัญเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด ส่วนวิญญาณไม่ได้มาจากใครหรือจากที่ไหนแต่เป็นสิ่งที่เกิดจากภายใน แต่ทั้งขวัญและวิญญาณไม่เกี่ยวกับคุณความดี ความดีเกิดขึ้นในจิตใจ ธรรมชาติของใจและจิตใจเป็นตัวบ่งชี้สิ่งที่เรียกว่ากรรม คนที่ความดีมากจะมีชีวิตที่ดี สำหรับคนบางชันเชื่อว่าใจขึ้นอยู่กับการทำความดี ส่วนวิญญาณเกี่ยวกับความตาย เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว องค์ประกอบของคุณลักษณะ ได้แก่คุณความดี ใจ นิสัย และวิญญาณ การมีคุณลักษณะที่ดีจะนำไปสู่นิพพาน สิ่งชี้นำไปสู่นิพพานคือการให้ความเคารพผู้สูงอายุ การเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า | เอกสาร บทความ

105. รหัส : H-1-4-44

การติดต่อกันระหว่างผู้หญิงชนบทและในเมืองของกรุงเทพฯ

| ปี 1983 –ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 กลุ่มหญิงชนชั้นนำในเมืองไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปเที่ยวตามต่างจังหวัดมากนัก ผู้หญิงในวังยิ่งมีโอกาสน้อยมาก การติดต่อสื่อสารกับผู้หญิงตามชนบทจึงมีน้อย ส่วนผู้หญิงชนบทมองว่าในเมืองเป็นอีกโลกที่แปลก น่ากลัว วุ่นวาย ไม่รู้จักและเดินทางไปลำบาก แต่ด้วยวิธีการสื่อสารสมัยใหม่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทั้งการขนส่ง การสื่อสาร ระบบการศึกษากระจายไปสู่ชนบท ทำให้คนชนบทมีทางเลือกในอาชีพมากขึ้น อีกทั้งการต้องการแรงงานมาทำงานในอุตสาหกรรม ทำให้ผู้หญิงหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมือง การติดต่อสื่อสารของผู้หญิงในเมืองและชนบทจึงเกิดขึ้น | เอกสาร บทความ

106. รหัส : H-1-4-45

ทรัพย์สินของคนท้องถิ่นที่ใช้สำหรับการพัฒนาประเทศไทย

| ปี 1968 – ในประเทศที่ปกป้องด้วยระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ดูเหมือนกับว่าสำหรับประเทศไทย รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาดเกี่ยวกับโครงการของรัฐ การผลักดันให้เกษตรกรทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แม้จำสะดวกรวดเร็วกว่าแต่เป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้ชาวบ้าน | เอกสาร บทความ

107. รหัส : H-1-4-46

ลักษณะของประเทศไทย

| ปี 1959 – คำอธิบายเรื่องวิญญาณและขวัญของชาวบางชัน องค์ประกอบอีกอย่างของมนุษย์คือกรรม คนที่ความดีมากจะมีชีวิตที่ดี องค์ประกอบของคุณลักษณะ ได้แก่คุณความดี ใจ นิสัย และวิญญาณ การมีคุณลักษณะที่ดีนั้นเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน | เอกสาร บทความ

108. รหัส : H-1-4-47

มรดกของลัทธิขงจื้อในกลุ่มชาวเขา

| การศึกษากลุ่มชาวเขาแถบพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี 1963-1979 กลุ่มชาวเขาได้แก่ ลาหู่ อาข่า ลีซู เย้า กะเหรี่ยงและแม้ว คนกลุ่มนี้อพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน ในจิตใจของคนกลุ่มนี้ยังรู้สึกถึงความเป็นจีน ลัทธิขงจื้อเข้ามามีบทบาทต่อกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้อย่างเข้มงวด โดยมีความเชื่อว่าคุณสมบัติ 3 ประการที่เปลี่ยนคนไปสู่ผู้ที่มีอารยธรรม ได้แก่ เคารพผู้อาวุโสหรือผู้ที่สูงกว่า การแต่งกายที่เหมาะสม และมารยาทที่เหมาะสม | เอกสาร บทความ

109. รหัส : H-1-4-49

ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลทางเหนือของประเทศไทย

| ปี 1972 – สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการให้ค่าของคนและที่ดิน และเนื่องมาจากความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรง ชาวเขาจากหลายๆพื้นที่กลายเป็นคนชายขอบที่ไม่เป็นที่ต้องการและอยู่ชั้นล่างสุดในระดับชั้นของสังคม | เอกสาร บทความ

110. รหัส : H-1-4-51

บทวิจารณ์ : ราชอาณาจักรสยาม โดย ไซมอน เดอ ลาลู แบร์

| ปี 1971 – ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ เป็นทูตจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปี 1678 ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลจากทางยุโรปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านหารค้าหรือทางการทหารในแถบอินดีส ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ ได้เขียนบรรยายถึงราชอาณาจักรสยามในเรื่อง “ความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์” โดยกล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในศตวรรษที่ 17 ทั้งเรื่องศิลปะ โครงสร้างทางสังคม การปกครองทางการเมือง ศาสนา ลักษณะของคนและการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนเรื่องของดาราศาสตร์และเวทมนต์ | เอกสาร บทความ