ศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์

44 แห่ง

ผลการค้นหา : 44 แห่ง

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดป้อม” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ติดกับป้อมวิเชียรโชฎก ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัดว่าสร้างสมัยใด เชื่อกันว่าเริ่มสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2323 โดยชุมชนชาวรามัญ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของชาวรามัญซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งชาวรามัญเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อมาอยู่รวมกันแล้วอาจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา และตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านหรืออาจสร้างวัดขึ้นพร้อมกับป้อมวิเชียรโชฎก ซึ่งป้อมวิเชียรโชฎก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2371 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเมื่อได้สร้างป้อมและหมู่บ้านแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบบุญกุศล วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2328 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร ผูกพัทธสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2418 พระมหาสมัย กมโล เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ได้เริ่มปรับปรุงวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2508 เป็นต้นมา เนื่องจากสภาพพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี และการคมนาคมใช้ทางเรือเพียงอย่างเดียว เสนาสนะทรุดโทรม จึงได้ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย ยกพื้นสูง เพื่อหนีน้ำท่วม โดยสร้างด้วยไม้จำนวน 10 หลัง ล้อมรอบหอฉันและหอสวดมนต์ ซึ่งก่อสร้างด้วยไม้เช่นกัน การสร้างวัดในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการก่อสร้างวัดแบบชาวรามัญ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2530 พระรามัญมุนี (พระมหาสมัย กมโล) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เมื่อ พ.ศ.2536 และมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2537  พระครูวิเชียรโชติคุณ (สมพงษ์ สุวโจ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) ได้มีการปรับปรุงพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยยกกุฎิ หอฉัน หอสวดมนต์ หอพระไตรปิฎกให้สูงขึ้น ปรับถมพื้นที่วัดเพื่อป้องกันน้ำท่วม (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 50) ปรับปรุงภูมิทัศน์วัดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ.2539

วัดมหาชัยคล้ายนิมิต อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร เดิมชื่อ “วัดใหม่” เป็นวัดสำคัญของชุมชน ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2434 ปรากฏในแผนที่ทางรถไฟคลองสาน-มหาไชย พ.ศ. 2439 และในแผนที่สัมปทานทางรถไฟกรุงเทพ-มหาไชย พ.ศ. 2445 ในสมัยหลวงปู่แคล้วเป็นเจ้าอาวาส ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดใหม่ มาเป็น "วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ได้เสด็จประพาสที่วัดและบริจาคเงินถวายจำนวน 200 บาท ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. 2471อาคารเสนาสนะในวัด              - อุโบสถ               - กุฏิหลวงปู่แคล้ว              - วิหารหลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะเป็นศาลาตรีมุข บริเวณหน้าบันมุขด้านหน้าทำเป็นรูปหลวงพ่อรุ่งครึ่ง ภายในประดิษฐานรูปหล่อจำลองหลวงพ่อรุ่ง ติสฺสโร              - ศาลาหอฉันเก่า รื้อสร้างใหม่เป็นศาลาหอฉันและทำบุญ              - โรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2520-2522           - กุฏิสงฆ์ พ.ศ.2490            - ศาลาสวดศพสร้างสมัยหลวงปู่แคล้วประเพณี/งานประจำปี คือทำบุญทักษิณาให้หลวงปู่แคล้วทุกปี พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ได้แก่ พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย

วัดราษฎร์รังสรรค์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดราษฎร์รังสรรค์ (คอกกระบือ) เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างที่แน่ชัด ในเอกสารประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 21 ระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ.2309 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2463 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 7 เมตร ยาว 72 เมตร มีรายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบคือ รูปที่ 1 พระชด รูปที่ 2 พระแจ้  รูปที่ 3 พระครูสาครสังฆกิจ (พ.ศ.2505-2526 รูปที่ 4 พระครูวิบูลธรรมวัตร (พ.ศ.2526-2544) รูปที่ 5 พระครูสาครสุภกิจ พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 64) ปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน สิ่งก่อสร้างภายในวัดล้วนสร้างในสมัยหลังชาวบ้านเล่าว่าที่เรียกว่าวัดคอกกระบือหรือวัดคอกควายนี้เนื่องจากพื้นที่บริเวณเดิมเป็นเนินสูง สมัยก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมชาวบ้านจะนำควายมาผูกไว้ที่บริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของวัดคอกควาย

วัดศรีสุทธาราม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ชื่อเดิมของ วัดศรีสุทธาราม ชื่อว่า วัดกำพร้า เดิมชื่อวัดกำพร้า ตามประวัติเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถางป่าโดยใช้มีดพร้า วัดกำพร้าตามความหมายเดิมจึงหมายถึงวัดที่ชาวบ้านช่วยกันกำมีด กำพร้า ถางป่าสร้างวัดขึ้นมา แต่ต่อมาคนรุ่นหลังแปลความหมายผิดไปเป็นว่าที่น่าสงสาร วัดที่อาภัพ จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีสุทธารามวัดศรีสุทธาราม หรือ วัดกำพร้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สาเหตุการสร้างวัดขึ้น สืบเนื่องมาจากประชาชนหมู่บ้านกำพร้าต้องไปทำบุญที่วัดบางหญ้าแพรก ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับหมู่บ้านเป็นความลำบากในการเดินทางเพื่อไปทำบุญ อาจเกิดอันตรายจากคลื่นลม กระแสน้ำเชี่ยว จึงเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยผู้ริเริ่มคือ นายมะนูญ นายมะกริด นายมะแมว นายมะเหมี่ยว พร้อมด้วยประชาชนในหมู่บ้านนี้ได้ช่วยกันสละทรัพย์ และแรงกายในการก่อสร้างวัดกำพร้าขึ้น และได้รับพระราชทานวิงสุงคามสีมาในเวลาถัดมาลำดับเจ้าอาวาส  1.ไม่ทราบชื่อ  2.ไม่ทราบชื่อ 3.ไม่ทราบชื่อ 4.พระปลี 5.พระพร ติสฺสวํโส 6.พระครูสาครธรรมสุนทร 7.พระครูวิฑูรย์ 8.พระครูสาครกิจจาภรณ์           อาคารเสนาสนะในวัด              - อุโบสถ  พ.ศ. 2510 และปฏิสังขรณ์เรื่อยมา            - ศาลาการเปรียญ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างประมาณปี พ.ศ. 2553             - กุฏิสงฆ์ บูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณปี พ.ศ. 2556           - หอระฆัง คอนกรีตเสริมเหล็ก            - ศาลาบำเพ็ญกุศล             - เมรุพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อแดง หลวงพ่อดำ และพระศรีอริยเมตตรัย ประเพณี/งานประจำปี ได้แก่ งานปิดทองประจำปีหลวงพ่อดำและหลวงพ่อแดง ช่วงกลางเดือนอ้ายขึ้น 13 14 ค่ำ มี

วัดสามัคคีศรัทธาราม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2435 โดยมีนายเฉย เป็นผู้ถวายที่ดิน ตั้งเป็นสำนักสงฆ์อยู่ได้ประมาณ 20 ปี ก็ร้างไป ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ได้มีนายศุกร์-นางเรียง ช้างสีนวล ได้สร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ และนิมนต์พระปูมาเป็นเจ้าอาวาส

วัดเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดเกาะนับเป็นวัดมอญที่เก่าแก่ที่สุดในอำเภอเมือง ซึ่งชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ท่าจีนในสมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยธนบุรี

วัดเจษฎาราม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดเจษฎารามเป็นสถานที่ประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ มณฑลพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในอดีตทางราชการได้ใช้สถานที่วัดนี้หล่อรูปพันท้ายนรสิงห์ และได้เชิญไปประดิษฐาน ณ ที่ตั้งศาลที่ตำบลโคกขามเดิมวัดเจษฎาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมเคยเป็นพื้นที่วัดร้างมาก่อน โดยมีเนินดินอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของอุโบสถเก่า ปัจจุบันได้ปรับพื้นเป็นที่ราบไปหมดแล้ว ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2401 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอาจารย์น่วม พระภิกษุจากวัดแสมดำ พร้อมด้วยคหบดีตำบลมหาชัยซึ่งเป็นพี่น้องกัน คือนายแฟบ นางน้อย และนางอิ่ม และชาวบ้านได้ร่วมใจกันทำการก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 140 ปี และได้ขนานนามว่า “วัดธรรมสังเวช” แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า “วัดกระเจ็ด” ตามชื่อคลองกระเจ็ด ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด ในราวปีวอก พ.ศ.2439 เจ้าจอมมารดาโหมด (เจ้าจอมมารดาของ(พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์เจ้าหญิงอรอนงค์อรรถยุพา และกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส) ในรัชกาลที่ 5 ได้เดินทางมายังตำบลมหาชัย และพักแรมอยู่บริเวณวัดนี้ ท่านเจ้าจอมมารดาโหมดได้ขนานนามวัดให้ใหม่จาก “วัดธรรมสังเวช” ให้มีนามว่า “วัดเจษฎาราม” (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 14-15) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ. 2480 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2531วัดเจษฎาราม เป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้นแต่มีความสำคัญด้วยเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของทางราชการจังหวัดสมุทรสาคร มีโอกาสรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช และพระมหาเถระหลายรูป นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นสนามสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงแผนกธรรมและแผนกบาลีประจำจังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินกิจกรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์และสังคมสงเคราะห์หลายประการ ด้วยคุณสมบัติของการเป็นวัดที่ช่วยเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสมควรได้รับเกียรติยกย่องเป็นพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการจึงขอพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเจษฎารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2531 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี 2516เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดเจษฎารามมีรายนามดังต่อไปนี้     รูปที่ 1 พระอธิการน่วม ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2401-2418     รูปที่ 2 พระอธิการยา ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2424-2449     รูปที่ 3 พระอธิการบัว จงทรงสี ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2450-2462 และเป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) มหาชัย     รูปที่ 4 พระครูมหาชัยบริรักษ์ (เชย ญาณวฑฒโน) ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2462-2500 เป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย และเจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรสาคร (ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมื่อ พ.ศ.2484 เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรง)     รูปที่ 5 พระราชสาครมุนี (ชะวร โอภาโส ป.ธ.4 น.ธ.เอก) ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2501-2535 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ.2521 และเป็นเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ.2527 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสาครมุณี ศรีกิจจานุกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เมื่อ พ.ศ.2530     รูปที่ 6 พระครูสาครเจษฎานุยุต (พิเชษฐ ธมมธโร) ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบันด้านการศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2480 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2503 และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.2530ภายในวัดมีสิ่งสำคัญได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถปางมารวิชัย  พระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรหน้าพระอุโบสถ รอยพระพุทธบาทจำลอง ต้นศรีมหาโพธิ์ และรูปหล่อพระครูชัยบริรักษ์ (หลวงปู่เชย) อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมหาชัยและตำบลใกล้เคียงแผนผังโดยรวมและอาคารสำคัญต่างๆ ภายในวัด เช่น พระอุโบสถและวิหาร หันไปทางคลองมหาชัยหรือหันไปทางทิศเหนือ (เอียงไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย)อาคารสิ่งก่อสร้างภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นอาคารใหม่ ส่วนพระอุโบสถปี 2559 อยู่ในระหว่างการก่อสร้างใหม่ โดยสร้างในตำแหน่งพระอุโบสถหลังเดิมที่ทุบทิ้ง (พระอุโบสถหลังเดิมเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2440) ด้านหน้าสถานที่ก่อสร้างพระอุโบสถก่อสร้างเป็นศาลาชั่วคราวประดิษฐานพระพุทธรูปจากพระอุโบสถหลังเดิม (รออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถหลังใหม่) พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่1. พระประธานของพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ ลงรักปิดทอง ลักษณะศิลปกรรมมีอิทธิพลศิลปะจีน ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2439 โดยมีพระอธิการยาเป็นประธานจัดสร้าง และมีพระโมคคัลลาน์ – พระสารีบุตร ประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย-ขวา2. พระพุทธรูปยืนปางถวายเนตร ลงรักปิดทอง สูง 6 ศอก เดิมประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ พระครูมหาชัยบุรีรักษ์ เป็นประธานจัดสร้างเมื่อ พ.ศ.24883. รอยพระพุทธบาทจำลอง ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 4 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.24944. รูปหล่อพระครูมหาชัยบริรักษ์ (เชย ญาณวฑฒโน) อดีตเจ้าอาวาสวัด ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวงพ่อเชย ทางวัดจัดให้มีงานบำเพ็ญกุศลถวายในวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 เป็นประจำทุกปี5. ต้นพระศรีมหาโพธิ เป็นต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นพระศรีมหาโพธิตรัสรู้ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพนฯ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัตเป็นประธานปลูก เมื่อ พ.ศ.2514

วัดโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ชุมชนโกรกกรากนั้น มีบริเวณตั้งแต่ชุมชนคลองกระโจน ไปจนถึงชุมชนเรือนจำในปัจจุบัน และครอบคลุมบริเวณชุมชนศาลเจ้ากลาง และชุมชนศาลเจ้าแม่ฯ ในตำบลท่าฉลอมปัจจุบันอีกด้วยสถานที่สำคัญภายในวัดโกรกกราก ได้แก่   - พระอุโบสถ ลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องสีมีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบทั้งสี่ด้าน รองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลม ช่อฟ้าใบระกาไม้ประดับกระจกภายในพระอุโบสถมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ด้านหลังพระประธานมีตู้ขนาดใหญ่ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปัจจุบันด้านหน้าตู้มีทองปิดทับเต็มหมด ไม่สามารถมองเห็นภายในได้   - เจดีย์รายตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับพระอุโบสถ มีจำนวน 2 องค์ องค์แรกเป็นเจดีย์มุมตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมมีกำแพงแก้วขนาดเล็กล้อมรอบองค์ที่สองเป็นพระปรางค์สำหรับบรรจุอัฐิขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน

วัดโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดโคกขามปัจจุบันเป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2222 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 11)  มีหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วยพระอุโบสถ  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้ลดชั้น 2 ชั้น มุงกระเบื้องสีชั้นละ 2 ตับ มีช่อฟ้าใบระกาไม้แกะสลัก ด้านหน้าพระอุโบสถซ่อมแซมต่อเติมขึ้นในภายหลังโดยพระครูมหาชัยบริรักษ์ เจ้าคณะแขวงเมืองสมุทรสาคร ทำเป็นมุขยื่นออกมา 1 ห้อง มีเสาปูนสี่เหลี่ยม 2 ต้น รองรับโครงหลังคา หน้าบันของมุขด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักรูปนก ค้างคาว และมังกรสองตัวเกาะและเลื้อยอยู่ในหมู่ต้นไม้ ด้านล่างเป็นไม้ฉลุลายทรงสี่เหลี่ยม ลวดลายของหน้าบันนี้ได้รับอิทธิพลของศิลปะจีน  ด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู ด้านหลังทึบ  ผนังด้านข้างทั้งสองด้านมีช่องหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง บานประตูหน้าต่างทาสีแดง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย พระพุทธรูปประทับยืน และนั่ง แสดงปางต่างๆ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยรอบพระอุโบสถมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ ด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆังกลม 2 องค์ สภาพชำรุดยอดหักหาย ภายในเขตกำแพงแก้วมีใบเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูน พระอุโบสถนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 56-57)พระพุทธรูป ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์คล้ายกับพระพุทธสิหิงค์ ที่ฐานมีจารึกซึ่งได้มีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านไว้ มีใจความว่า “พุทธศักราช 2232 พระสา กับเดือน 1 กับ 25 วันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย โทศก พระยาเมชัยก็ได้สถาปนาพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ เป็นทอง 37 ชั่ง จงเป็นปัจจัยแก่นิพพานฯ” ซึ่งปีพุทธศักราช 2232 นั้นตรงกับรัชสมัยของพระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2246) (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 57) มีการจัดงานปิดทองประจำปีช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี ศาลาการเปรียญ  ลักษณะเป็นศาลาการเปรียญไม้ยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาสี บันไดทางขึ้นก่ออิฐถือปูน มีอาคารขนาดเล็กสร้างขวางทางด้านทิศตะวันออก ศาลาการเปรียญหลังนี้ พระสุนทรศีลสมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนัง ธนบุรี เป็นผู้ทำการก่อสร้างไว้(สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 57)

close