จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกที่ฐานรูปนายเรืองผู้เผาตัว

จารึก

จารึกที่ฐานรูปนายเรืองผู้เผาตัว ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:53

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานรูปนายเรืองผู้เผาตัว

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2333

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ วันศุกร์ เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ (เริ่มต้นนับจากวัน 1 คือ วันอาทิตย์)
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลศักราช 1152 ปีจอ โทศก ตรงกับ พ.ศ. 2333 จุลศักราช เป็นศักราชที่รับมาจากพม่า มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในล้านนา สุโขทัย และ อยุธยา อายุน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี ดังนั้นหากต้องการทำให้เป็นพุทธศักราช ให้นำเลขจุลศักราชบวกด้วย 1181 ส่วนปีจอ เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 11 ใน 12 นักษัตร สัญลักษณ์ คือ หมา (ไทยรับปีนักษัตรลักษณะนี้มาจากขอม) ส่วนโทศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 2 ในที่นี้ก็คือ ปี 1152 นั่นเอง
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อ่านว่า 9 วัน 10 วัน
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วัดครุฑ ตั้งอยู่ในเขตบางกอกใหญ่ กทม. ไม่ไกลจากวัดอรุณราชวรารามมากนัก
5.พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พุทธภูมิ คือ การตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
6.ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517) : คล่ คือ คนละ
7. ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517) : บุเรียญ คือ เปรียญ
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : (ศาลา)การเปรียญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ ซึ่งพระสงฆ์และฆราวาสใช้ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ การแสดงธรรม เป็นต้น (แต่ดั้งเดิมนั้นใช้สำหรับเป็นอาคารเล่าเรียนของสงฆ์ บาเรียน-พระที่ได้เรียน/พระนักเรียน)
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วัดอรุณราชธาราม เป็นชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็น ”วัดอรุณราชวราราม” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร. 2) ทรงพระราชทานชื่อวัดอรุณราชธารามเมื่อครั้งที่มีการฉลองวัดใน พ.ศ. 2363 โดยในสมัยอยุธยา วัดแห่งนี้มีชื่อว่า วัดมะกอก, วัดมะกอกใน ต่อมาใน พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเปลี่ยนเป็นวัดแจ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เสด็จมาถึงวัดดังกล่าวในเวลารุ่งเช้า
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (พ.ศ. 2548) : สมาทาน หมายถึง รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อุโบสถศิล คือ ศิล 8 ได้แก่ (1) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (2) เว้นจากการลักทรัพย์ (3) เว้นจากการร่วมประเวณี (4) เว้นจากการพูดเท็จ (5) เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (6) เว้นจากการรับประทานอาหารตั้งแต่เวลาเที่ยงไปแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นวันใหม่ (7) เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมเครื่องดนตรี การดูการละเล่น การประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ และของหอม (8) เว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูง ภายในมีนุ่นหรือสำลี และเครื่องปูลาดที่หรูหรา
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อ่านว่า 5 ร้อย6 ร้อยเศษ
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วัดหงษ คือ คือวัดหงส์รัตนารามในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้แล้วต่อท้ายนามวัดแห่งนี้ว่า “รัตนาราม” (รัตน = แก้ว, อาราม = วัด) เนื่องจากเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ พระอัยกี(ยาย) ผู้เคยปฏิสังขรณ์วัดหงส์มาก่อน ทรงมีพระนามเดิมว่า “แก้ว”
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อ่านว่า 11 ปลา 12 ปลา