จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเจ้าอัตถวรราชสร้างปราสาท

จารึก

จารึกเจ้าอัตถวรราชสร้างปราสาท ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 14:06:58

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าอัตถวรราชสร้างปราสาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 7

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 13 บรรทัด

ผู้แปล

เกษียร มะปะโม, แปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (พ.ศ. 2534) (ภาษาบาลี)

ผู้ปริวรรต

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534) (ปริวรรตส่วนที่เป็นภาษาไทย)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “กุมภระวายสี” หมายถึง ราศีกุมภ์
2. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ผลคุนี” ชื่อดาวนักษัตรหมู่ที่ 11 และ 12 มี 4 ดวงเมื่อแยก 2 ดวงหน้า เรียกว่า บุรพคุนี หรือ ดาวงูเมีย 2 ดวงหลัง เรียกว่า อุตรผลคุนี หรือ ดาวเพดาน
3. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ชัยนันทรัฐบุรี” เป็นชื่อเมืองโบราณ ปัจจุบันคือ จังหวัดน่าน
4. พันธุ์ทิพย์  ธีระเนตร : “อัตถวรราช” คือ เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2329-2353) ในช่วงเวลาที่ขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1
5. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ไวยาวัจกร” หมายถึง ผู้ทำหน้าที่แทนสงฆ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน
6. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ชู่” หมายถึง ทุก เช่น ชู่คน คือ ทุกคน
7. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “คามโภชกา” หมายถึง นายบ้าน
8. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ช่อย” คือ ช่วย
9. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ริสนา” คือ รจนา,แต่ง, สร้าง
10. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “หื้อ” หมายถึง ให้
11. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ปัญจวัสสาสหัสสา” หมายถึง ห้าพันปี
12. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “จุ่ง” คือ จง
13. เกษียร  มะปะโม : “สตฺตโมชฺชงฺโค” ที่ถูกน่าจะเป็น “สตฺตโพชฺฌงฺโค” คือ โพชฌงค์ 7
14. เกษียร มะปะโม : “มหากุฏ” นี้พบทั่วไปมีใช้ “กุฏาคาร” หรือ “มหากุฏาคาร” แปลว่า เรือนยอดหลังใหญ่
15. เกษียร มะปะโม : “โพชฌงค์ 7” ได้แก่ สติ, ธรรมวิจยะ, วิริยะ, ปีติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ และอุเบกขา