จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 05:47:28

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 71, ชม. 71 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น, 1 วัดเชียงมั่น

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2008

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “321110” เป็นหรคุณ คือ จำนวนวันตั้งแต่ตั้งจุลศักราช ซึ่ง ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) กล่าวว่า หรคุณในจารึกนี้ควรเป็น 302111 หรือ 302110
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “827” เป็นจุลศักราช ตรงกับ พ.ศ. 2008 ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1984-2030)
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ข้อความดังกล่าวเป็นคาถาย่ออริยสัจ 4 ซึ่ง ประสาร บุญประคอง ได้ทำการแปลคาถานี้ไว้ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 5 (ม.ค. 2516) ชื่อบทความ “คำอ่านจารึกบนฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร อักษรขอมภาษาบาลี ได้มาจากวัดคูยาง ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร” ซึ่งมีคาถาดังกล่าวเช่นกัน ความว่า “บทอันหนึ่งเป็นปฐม เป็นลักษณะแห่งตน นักปราชญ์ผู้ประกอบด้วยปัญญา เว้นไว้ซึ่งบทอันเป็นปฐมแล้วพึงจำแนก (อรรถแห่งจตุราริยสัจ) โดยลำดับ (แห่งอักษร 12 ตัวนี้) คือ ส.ม.นิ.ทุ.นิ.ม.ส.ม.ทุ.ส.นิ.ทุ. เพราะแสดงซึ่งบท มีบทที่สองเป็นอาทิ” ส่วน สุภาพรรณ ณ บางช้าง (พ.ศ. 2529) แปลว่า “บทแรกเป็นบทที่หนึ่งแสดงลักษณะแห่งตน เว้นแล้วจากบทแรก แสดงบทมีบทที่สองเป็นต้น พึงจำแนก(สาระแห่งอริยสัจ) โดยลำดับ (แห่ง) อักษรย่อคือ ส.ม.นิ ทุ.นิ.ม. ส.ม.ทุ. ส.นิ.ทุ” นอกจากนี้ได้อธิบายว่า คาถาดังกล่าวเป็นการนำอักษรย่อ 4 ตัวเป็นหลัก คือ ทุ. ส.นิ.ม. มาเรียงสลับกัน ทุ. ย่อมาจาก ทุกขสัจจะ ส. ย่อมาจากสมุทยสัจจะ นิ. ย่อมาจากนิโรธสัจจะ และ ม. ย่อมาจากมรรคสัจจะ ในแต่ละชุดที่นำมารวมกันเพื่อทำให้รำลึกถึงสัจจะที่ไม่ได้นำมารวม แล้วเกิดการพิจารณาถึงอริยสัจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ส.ม.นิ นำให้เห็นทุกขอริยสัจ ทุ.นิ.ม. นำให้เห็นสมุทยอริยสัจ ส.ม.ทุ. นำให้เห็นนิโรธอริยสัจ ส.นิ.ทุ. นำให้เห็นมรรคอริยสัจ
4. ฮันส์ เพนธ์ : “บงหวา [น]” อาจเป็น บงหวาง ซึ่งคงหมายถึง “ปงวาน”