จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกชาวอ้ายดาบเรือน

จารึก

จารึกชาวอ้ายดาบเรือน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลา 18:53:49

ชื่อจารึก

จารึกชาวอ้ายดาบเรือน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 36, 156/30, ชร. 36 จารึกชาวอ้ายดาบเรือน พ.ศ. 2067, 1.4.1.1 เวียงชัย พ.ศ. 2068

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2067

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

ผู้อ่าน

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : สิทธิการ = สิทธิการิยะ การอธิษฐานของความสำเร็จ ใช้เป็นการขึ้นต้นในตำราโบราณ
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักราชได้ 886 = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2067
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกาบสัน = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีวอก ฉศก ตามจุลศักราช
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดินห้า = เดือน 5 ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 3 ภาคกลาง
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : วันกัดไก๊ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็ง = มอญ, เม็งวันศุกร์ หมายถึง มอญเรียกว่า วันศุกร์
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : กลองงาย = ยามตีกลองเช้า คือเวลา 7.30 น. – 9.00 น.
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : พระเจ้า = พระพุทธรูป, พระพุทธเจ้า
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปลง = ให้, มอบให้
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : ใส่หัวเจ้า = ส่งให้
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : พันสังฆการีเชียงราย = ตำแหน่งข้าราชการสมัยโบราณ ว่าด้วยการคณะสงฆ์
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : โรงคำ = ปราสาททอง, ท้องพระโรง
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : พัทธสีมา = เขตที่พระสงฆ์กำหนดให้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรม
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : อ้าย = ลูกชายคนที่หนึ่ง, พี่ชายคนโต
18. โครงการวิจัยฯ (2534) : ดาบเริน, ดาบเรือน = เป็นตำแหน่งขุนนางสมัยโบราณ
19. โครงการวิจัยฯ (2534) : จืงเมือง = สิงเมือง อำมาตย์ผู้ใหญ่สี่นาย เทียบกับจตุสดมภ์
20. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าพัน = ชื่อตำแหน่งข้าราชการเหนือนายร้อย
21. โครงการวิจัยฯ (2534) : เถ้าเมิง, เถ้าเมือง = ชื่อตำแหน่ง
22. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปากรัด = ปาก คือผู้ดูแลไพร่ 100 คน ชื่อว่า รัด