จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกที่ฐานอนุสาวรีย์พลเสือป่าเชื้อ

จารึก

จารึกที่ฐานอนุสาวรีย์พลเสือป่าเชื้อ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2564 00:50:12

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานอนุสาวรีย์พลเสือป่าเชื้อ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 281 จารึกบนแผ่นสัมฤทธิ์, จารึกเพื่อเป็นอนุสาวรีย์แห่งพลเสือป่าเชื้อ, นฐ. 9

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2458

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2521)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เจษฏ์ ปรีชานนท์ : พลเสือป่าเชื้อ รับราชการเป็นนายสารถีสำรอง สังกัดกรมพระอัศวราชเป็นสมาชิกเสือป่ากองม้าหลวงรักษาพระองค์ ในการซ้อมรบครั้งดังกล่าว กองม้าหลวงเป็นฝ่ายโจมตีโดยลงน้ำที่คูหลังพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เมื่อว่ายน้ำเข้าไปใกล้ฝั่ง ฝ่ายตั้งรับเกิดรู้ตัวจึงยิงกราดลงไปในน้ำ กองม้าหลวงจึงต้องถอยกลับ เมื่อว่ายน้ำมาถึงกลางสระ พลเสือป่าเชื้อได้จมน้ำลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นจึงทรงให้คนเอาเรือไปช่วย แต่กว่าจะงมขึ้นมาได้ก็เสียชีวิตแล้ว
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : กองเสือป่า จัดตั้งขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีภายในชาติ เป็นการฝึกอบรมพลเรือนแบบทหาร
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : การซ้อมรบ เป็นงานอย่างหนึ่งของเสือป่า โดยเฉพาะเสือป่ากองเสนาหลวงที่ต้องจัดเกือบทุกปี การซ้อมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มจากวันชุมนุมพลกันที่ค่ายหลวงในพระราชวังสนามจันทร์เป็นการฝึกหัดในสนาม ระยะที่ 2 เป็นการฝึกในสนามร่วมกับการซ้อมรบย่อย เป็นเพียงกองร้อยแล้วขยายตัวขึ้นไปจนถึงกรมต่อกรม ระยะที่ 3 เป็นการซ้อมรบใหญ่ระหว่างกองรักษาดินแดน
4. เจษฏ์ ปรีชานนท์ : โคลงบทนี้น่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งในหนังสือพระบรมราชาธิบายในประพันธ์ของพระองค์ระบุว่า ชื่อโคลงมหาสินธุมาลี ลักษณะคล้ายกับโคลงสุภาพ แต่ไม่จำกัดเอกโท