จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดหินตั้ง

จารึก

จารึกวัดหินตั้ง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 11:44:23

ชื่อจารึก

จารึกวัดหินตั้ง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก อักษรและภาษาไทย, หลักที่ 95 ศิลาจารึกวัดหินตั้ง, หลักที่ 95 ศิลาจารึกวัดหินตั้ง, สท. 37

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 36 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2507), (พ.ศ. 2513), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2507), (พ.ศ. 2513), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2507)
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)
3) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : เผือ = ข้าพเจ้า, ฉัน, ข้า
2. ประสาร บุญประคอง : กลอย = เมื่อนำหน้าคำนามเป็นคำยกย่อง ถ้านำหน้านามของสมณะเพศ หมายถึง “พระคุณ, พระคุณเจ้า” เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 9 แผ่นที่ 3 บรรทัดที่ 6 ว่า “กลอยสาริบุตตมหาเถร” ถ้านำหน้านามของพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ควรยกย่อง หมายถึง “เสด็จ” เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 9 แผ่นที่ 3 บรรทัดที่ 8 ว่า “กลอยเสด็จมหาธรรมราชาธิราชผู้หลาน” และ “กลอย” คำนี้ เมื่อเป็นกริยา แปลว่า “ร่วม”
3. ประสาร บุญประคอง : มาฬก = พลับพลา, ปะรำ, โรงพิธี
4. ประสาร บุญประคอง : ช่อย = ช่วย
5. ประสาร บุญประคอง : ตู = ข้า, ข้าพเจ้า
6. ประสาร บุญประคอง : จีพอร = จีวร
7. ประสาร บุญประคอง : ดังอั้น = ดังนั้น
8. ประสาร บุญประคอง : กลวง = ภายใน, กลาง
9. ประสาร บุญประคอง : สมวัด = เลขวัด
10. ประสาร บุญประคอง : สังสการ = พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ
11. ประสาร บุญประคอง : หน = ทาง, ทิศ
12. ประสาร บุญประคอง : พอก = ปิด
13. ประสาร บุญประคอง : เวียงเท่า = เพียงเท่า
14. ประสาร บุญประคอง : เทียน = ย่อม
15. ประสาร บุญประคอง : เถิง = ถึง
16. ประสาร บุญประคอง : หาสบประการ = หากถ้วนทุกประการ
17. ประสาร บุญประคอง : มาแหน = มาเฝ้า
18. ประสาร บุญประคอง : เท่าวัน = ทุกวัน