จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพันดุง

จารึก

จารึกพันดุง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2564 18:06:26

ชื่อจารึก

จารึกพันดุง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกพระศรีวัตสะสร้างเทวรูป อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต, นม. 38, จารึกพระศรีวัตสะสร้างเทวรูป, K.1155, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 09/32/2530, จารึกกบ้านพันดุง

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศักราช 1372

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. ๒๕๓๐)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. ๒๕๓๐)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : ตั้งแต่บรรทัดที่ 1-6 อักษร “ก” และอักษร “ต” จะมีปลายเส้นอักษรเสมอบรรทัดล่างเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับรูปอักษรในจารึกเนินสระบัว ตั้งแต่บรรทัดที่ 7-10 รูปอักษร “ก” จะมีเส้นยาวลงใต้บรรทัด ส่วนบนจะเป็นหัวตะปู จะเหมือนกับรูปอักษรในจารึกเขารัง ส่วนอักษร “ต” มีเส้นลงใต้บรรทัดดูเหมือนกับจะเป็นสระอุ แต่มิใช่ เพราะคำว่า “โต” มีสระโอ อยู่แล้ว
2. ชะเอม แก้วคล้าย : สระอีที่ผสมรูปพยัญชนะในจารึกนี้ มีสองแบบ เช่นคำว่า “ศฺรี” ในคำว่า “ศฺศฺรีธี” (บรรทัดที่ 7) สระอี ม้วน มีเส้นยาวลง ส่วนคำว่า “ธี” สระอีม้วนกลมมีจุดภายในอยุ่บนพยัญชนะเท่านั้น
3. ชะเอม แก้วคล้าย : สระเอ ที่ผสมรูปพยัญชนะ จะผิดกับสระอีที่ยาวลง ก็เฉพาะอยู่ด้านหน้าของรูปพยัญชนะเท่านั้น และจะมีรูปเหมือนกับสระอีในจารึกเขารัง เช่น คำว่า “เวท” ในบรรทัดที่ 6 ถ้าอยู่ในจารึกเขารังต้องอ่านเป็น “วิท”
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ตปสฺสฺวาทฺธฺยาย” แยกศัพท์เป็น “ตฺปสฺ” + “สฺวาทฺธฺยาย” (สฺว + อทฺธฺยาย) ตามหลักภาษาสันสกฤตควรเป็น “สฺว” + “อธฺยาย” (อธิ + อี) แต่ในจารึกนี้ มีอักษร “ท” เกินมาหนึ่งตัวโดยไม่ทราบเหตุผล
5. ชะเอม แก้วคล้าย : อักษร “ล” มีสระอา คือ “ลา” ในบรรทัดที่สอง กับอักษร “ณ” ในคำว่า “นิตฺยารฺณฺณเวน” ในบรรทัดที่ 6 จะเหมือนกันมาก ต้องอาศัยความหมายประกอบในการอ่านแปลด้วย
6. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศิญฺชรสฺ” ชื่อของสวามี ในบรรทัดที่ 7 ทำให้อ่านเป็น “ศิทฺธรสฺ” ก็ได้ เพราะอักษร “ญ” ไม่ค่อยชัดเจน ถ้าอ่านเป็น “ศิทฺธร” แยกศัพท์เป็น “ศิทฺ” + “ธร” ก็จะไม่ได้ความหมาย แม้ว่าเป็นชื่อเฉพาะไม่ต้องแปล แต่ชื่อเฉพาะทุกอย่างต้องมีความหมาย ฉะนั้นจึงอ่านเป็น “ศิญฺชรสฺ” ซึ่งเป็นศัพท์เดียว ไม่ต้องแยกความหมาย ใน Dictionary ของ Sir. M. Monier Williams หน้า 1071 ให้ความหมายว่า เป็นชื่อของบุคคล
7. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “นามฺนา” ในบรรทัดที่ 7 ค่อนข้างจะผิดปกติ เพราะสระไว้บนรูปอักษร ถ้าไม่สังเกตอักษร “น” ใต้อักษร “ม” จะทำให้เข้าใจว่า สระอานั้นคือเครื่องหมายของพยัญชนะสะกด ในขณะที่สระอาอื่นๆ อยู่ด้านข้างของรูปพยัญชนะ เข้าใจว่าตอนแรกคงจารึกตกรุปสระอา จึงมาเพิ่มทีหลังเพราะสระอาอย่างนี้ก็เคยมีในจารึกอื่นๆ มาก่อนแล้ว
8. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “หริหระ” เป็นชื่อพระเทวรูป ซึ่งมีทั้งลักษณะของพระวิษณุและพระศิวะอยู่ในรูปเดียวกัน จึงเรียกเทวรูปนั้นว่า “หริหระ”
9. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ปูชิตา” ในบรรทัดที่ 4 อาจทำให้เข้าใจความเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ “ปุ” แล้วมีเส้นมาต่อจาก “อุ” ม้วนโค้งยาวไปขวามือเหมือนกับเป็น “ปฺยุ” หรือ “ปฺรุ” ซึ่งจะแยกศัพท์ไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องอาศัยความหมายในการแปลประกอบด้วย
10. ชะเอม แก้วคล้าย : บรรทัดที่ 10 อันเป็นบรรทัดสุดท้าย ได้ระบุวัน เดือน ปี ว้อย่างชัดเจน แต่ตอนปลายของบรรทัดจารึกได้ชำรุดหักกายไป ที่สำคัญคือ “ศศิโกศาทฺริศากาวฺเท ศุเกฺล มารฺคศานิ . . . . .” ซึ่งแปลว่า วันเสาร์ (ศานิ) เดือน 1 (มารฺค) ขึ้น 8 ค่ำ (ศุเกฺล) ในปีศักราช (ศาก + อพฺท) 751 (อทฺริ = 7, โกศ = 5, ศศิ = 1) ตรงกับ พ.ศ. 1372 อันเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยประวัติข้อความในจารึกและอักกขรวิทยาของอนุชนต่อไป