จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระอภิธรรม

จารึก

จารึกพระอภิธรรม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 14:16:01

ชื่อจารึก

จารึกพระอภิธรรม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ 20

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 57 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 35 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2526)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า เวทนา(ย) บรรทัดที่ 1 (ข) ของการอ่านกรอบนอก ในหลักศิลาจารึก ตกอักษร ย. ไปจึงเป็น เวทนา
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า วิปา(กา) บรรทัดที่ 1 (ง) ของการอ่านกรอบนอก ในหลักศิลาจารึก ตกอักษร กา จึงเป็น วิปา
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า อุปาทิณฺณุปาทานิยา บรรทัดที่ 2 (ข) ของการอ่านกรอบนอก ทางที่ถูกตามหลักภาษาต้องใช้ น. เป็น อุปาทินฺนุปาทานิยา ซึ่งมีหลายคำ ในจารึกใช้ ณ. ทั้งหมด
4. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อนุปาทินฺนนุปาทานิยา
5. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อสํกิลิฏฺฐาสํกิเลสิกา
6. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อวิตกฺกาวิจารา
7. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า อวิตกฺกอวิจารา บรรทัดที่ 3 (ข) ของการอ่านกรอบนอก และคำอื่นๆ อีกหลายคำที่เป็น อ สนธิ เช่น อสํกิสิฏฺฐอสํกิเลสิกา และ อนิทสฺสนอปฏิฆา ฯลฯ เป็นต้น ในจารึกจะไม่ใช้รูปสระ อ สนธิ แต่ให้คงรูปไว้อย่างเดิม ถ้าใช้รูปสนธิจะเป็น อวิตกฺกาวิจารา
8. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า อปฺป(มา)ณา บรรทัดที่ 5 (ข) ของการอ่านกรอบนอก ในหลักศิลาจารึก ตกอักษร มา. จึงเป็น อปฺปณา
9. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น สมฺมตฺตนิยตา
10. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า สมตฺตนิยตา บรรทัดที่ 5 (ง) ของการอ่านกรอบนอก ในหลักศิลาจารึก ตกอักษร มฺ ที่แปลงมาจากนิคหิตของ สํ จึงเป็น สมตฺตนิยตา
11. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา
12. ชะเอม แก้วคล้าย : สนิทสฺสนสมฺปฏิฆา บรรทัดที่ 7 (ก) และคำอื่นๆ ที่มี ปฏิฆา ทางที่ถูกควรเป็น สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา แต่ในจารึกเป็น –สมฺปฏิฆา คงจะจารึกอักษร ป. เป็น ม. เพราะเข้าใจว่า ปฺ ที่ซ้อนนั้น มาจากนิคหิตของสํ ความเป็น ส สหปุพพบท มิใช่มาจาก สํ ฉะนั้นจึงซ้อน ปฺ มิใช้ซ้อน มฺ
13. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา
14. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อนิทสสนาปฺปฏิฆา
15. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น เหตุสมฺปยุตฺตา
16. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า เหตุสปฺปยุตฺตา บรรทัดที่ 7 (ค) ทางที่ถูกควรเป็น สมฺปยุตฺตา เพราะ มฺ แปลงมาจากนิคหิตของ สํ มิใช่ซ้อน ปฺ
17. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น ปิ
18. ชะเอม แก้วคล้าย : อักษร จ บรรทัดที่ 8 (ข) ควรเป็น ปิ ตามบทธรรมสังคณี เพราะบทหลังเป็น อเหตุกาปิ
19. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น สปฺปฏิฆา
20. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น โลกุตฺตรา
21. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า โลกุตฺ(ต)รา ในหลักศิลาจารึกเป็น โลกุตฺรา ตกอักษร ต. ไปหนึ่งตัว จึงใส่เป็นวงเล็บไว้
22. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อาสวา
23. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า สาสวา บรรทัดที่ 9 (ค) คำหลังคงจะเป็นการจารึกผิด เพิ่มอักษร ส. ข้างหน้าด้วย บทธรรมสังคณี เป็น อาสวา
24. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น อาสวสมฺปยุตฺตา
25. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี ไม่มี
26. ชะเอม แก้วคล้าย : อักษร จ บรรทัดที่ 9 (ง) ของวลีว่า โขปน จ ธมฺมา ฯลฯ อักษร จ นี้ไม่มีในบทธรรมสังคณี เพราะมีนิบาตสองแล้วคือ โข กับ ปน
27. ชะเอม แก้วคล้าย : พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เป็น สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา
28. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า สญฺโญชนิสมฺปยุตฺตา บรรทัดที่ 10 (ข) คงเป็นการพลั้งเผลอของการจารึกจึงเพิ่มสระ อิ ที่ นิ เพราะบทธรรมสังคณี เป็น สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา