จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ้านวังไผ่

จารึก

จารึกบ้านวังไผ่ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2564 21:14:41

ชื่อจารึก

จารึกบ้านวังไผ่

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Si T’ep (K. 978), ศิลาจารึกศรีเทพ พช./2, K.978, พช. 2, 99/274/2550

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2507)
2) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2526), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2507)
2) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2526), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศกปติสํว (ตฺสเร)” แปลว่าในปีรัชสมัยแห่งศักราช - - - เป็นคำแปลกลางๆ ความจริงแล้วเนื้อความไม่ชัดเจนนัก เพราะอาจจะแปลว่าในปีแห่งพระเจ้าศกราชก็ได้ เป็นเพราะอักษรหน้าคำว่า “ศก” นั้นหายไป จึงแปลเป็นกลางๆ ไว้ เท่าที่สังเกตจากจารึกอื่นๆ หน้า “ศก” จะเป็นตัวเลขบอกจำนวนศักราช จึงไม่อาจทราบได้ว่า “ศก” เป็นศักราช หรือ นามของพระมหากษัตริย์
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “อทฺวยานฺ” ถ้าอ่านเป็น “อทฺวยาน” ไม่สามารถแปลรับกับบทใด หรือจะให้ขยายบทใดได้ เพราะวิภัตติต่างกัน ในที่นี้จึงอ่านเป็น “อทฺวยานฺ” เป็น ปฺรถมวิภัตติ ทำหน้าที่ขยายคำว่าราชา ส่วนขีดบนอักษร “น” ที่เป็นเครื่องหมายให้อักษร “นฺ” เป็นตัวสะกดนั้น ตรงกับรอยหินแตกพอดี จึงไม่อาจเห็นอย่างชัดเจนได้
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “กานำ” ชัดเจนอยู่แล้ว แต่นิคหิต ( -ํ ) จะมองเห็นอย่างเบาบาง ท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ อ่านคำนี้ว่า “กาฏา” จึงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ซึ่งตามรูปอักษรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็น “กาตา” พอใช้ได้ แต่เนื้อความไม่ให้
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “วิภูตฺไยษ” แยกเป็น “วิภูตฺย” กับ “เอษ” จะเห็นได้ว่าเนื้อความของจารึกนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับพระศิวะเลย เป็นการประกาศเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งเท่านั้น
5. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศิลาสฺ” ซึ่งเป็นคำที่สำคัญมาก เมื่ออ่านผิด ทำให้ข้อความในจารึกเปลี่ยนไปด้วย ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ อ่านคำนี้ว่า “ศิวำสฺ” โดยตัดเป็น ศิว (พระศิวะ) กับ อํสุ (รูป) ความจริง ศิว กับ อํสุ สนธิกันจะได้รูปเป็น ศิวํสฺ เมื่อตัดเป็น ศิวำสฺ แล้วก็ไม่มีนิคหิต ( -ํ ) เครื่องหมายแสดง ทฺวิติยาวิภัตติ ที่จะให้แปลว่า “ซึ่งรูปของพระศิวะ” และ อักษร “สฺ” มีจุดล่างเป็นพยัญชนะครึ่งตัว ไม่อาจแปลว่า “รูป” ได้ ส่วนที่อ่านว่า “ศิลาสฺ” เพราะอักษร “ล” ชัดเจน เพียงแต่มีรอยหินแตกพาดจากหัวไปถึงหางอักษร “ล” จึงทำให้เข้าใจว่าเป็นอักษร “ว” ได้ ส่วนที่มองเห็นเป็นรูปนิคหิต ( -ํ ) บนสระ “อา” นั้น เป็นรอยหินแตก เพราะมีอยู่มากมายหลายจุดด้วยกัน ดังรูปอักรจารึก “ศิลาสฺสฺถาปเยตฺโส” เมื่ออ่านเป็น “ศิลาสฺ” ก็จะได้รูป ทฺวิติยาวิภัตติ คือ “ศิลาะ” เพราะมีอักษร “สฺ” อยู่หลัง จึงให้แปลง วิสรคะ ( - ะ) เป็น “สฺ” แปลรับกับ สฺถาปเยตฺ ว่าได้สร้างแล้วซึ่งศิลาทั้งหลาย หมายถึงศิลาจารึกนั้นเอง