จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ้านกู่จาน

จารึก

จารึกบ้านกู่จาน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21:11:25

ชื่อจารึก

จารึกบ้านกู่จาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ยส. 7

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2542)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2542)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : “ศฺรีฆนํ” หมายถึง พระพุทธเจ้า ซึ่งใช้เฉพาะในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเท่านั้น พระพุทธรูปคือองค์แทนพระพุทธเจ้า ฉะนั้นในที่นี้ศฺรีฆนํจึงแปลว่า พระพุทธรูป
2. ชะเอม แก้วคล้าย : “ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในสีมา ที่กำหนดแล้ว” น่าจะหมายถึง ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในพระอุโบสถ ไม่ทราบว่าบริเวณโบราณสถานกู่จานมีโรงเรือนพระอุโบสถ หรือสระน้ำ เป็นที่สร้างโรงเรือนสำหรับทำสังฆกรรมของพระสงฆ์หรือไม่ ข้อความที่ว่า “สีมาที่กำหนดแล้ว” หมายถึง เขตแดนที่ได้ผูกพัทธสีมาแล้ว หรือ หมายถึงเขตพื้นที่ของพระอุโบสถ อันเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์
3. ชะเอม แก้วคล้าย : “ที่พระภิกษุสร้างแล้วด้วยศรัทธา” หมายถึง การสร้างพระพุทธรูปไว้ในพระอุโบสถ พระภิกษุเป็นผู้ทำการสร้างขึ้นด้วยความศรัทธา
4. ชะเอม แก้วคล้าย : “ผู้มีศรัทธาร่วมกัน ได้ถวายจีวร” หมายถึง ประชาชนทั่วไปผู้มีศรัทธาร่วมได้ถวายจีวร เพราะจารึกชำรุด จึงไม่ทราบว่าถวายจีวรแก่พระพุทธรูป หรือแก่พระสงฆ์ แต่สามัญสำนึกโดยทั่วไป ผู้มีศรัทธาต่อการกระทำของพระภิกษุที่ช่วยกันสร้างพระพุทธรูป จึงน่าจะถวายจีวรแก่พระภิกษุเหล่านั้น
5. ชะเอม แก้วคล้าย : “ชาวเมืองจะดำเนินไปสู่สภาวธรรมอันประเสริฐ” หมายความว่า ชาวเมืองผู้นับถือพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสงบสุข มีความสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า
6. ชะเอม แก้วคล้าย : “ท่านผู้ถึงพระโพธิญาณ ได้กล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าแล้ว” จารึกชำรุด จึงแปลเฉพาะข้อความที่ปรากฏ อย่างไรก็ตาม จากข้อความดังกล่าวทำให้ทราบว่า เมื่อผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา ทำพระโพธิญาณให้แจ้งแล้ว จะมีประสบการณ์ตรง เห็นจริงว่า “หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ย่อมนำไปสู่ความสงบสุขอย่างแท้จริง” เมื่อนั้น พวกเขาย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ชี้แนวทางแห่งความสุขที่แท้จริง