จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2

จารึก

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21:09:23

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศก. 3, K.393, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/41/2560

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1664

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 135 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 48 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 57 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 7 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 23 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำ “กุนติกา” หมายถึง ภาชนะทำเป็นรูปเหยือก มี 2 หู
2. อำไพ คำโท : “พระสภา” ที่ปรากฏอยู่ในจารึกภาษาขอมหลักต่างๆ นั้น คงไม่ใช่ชื่อตำแหน่ง แต่คงจะเป็นชื่อศาลหรือชื่อที่ประชุมมากกว่า แต่ถ้าเป็นชื่อตำแหน่ง จะต้องมีคำมาประสมต่อท้ายอีก เช่น พระสภาบดี เป็นต้น สำหรับคำ “พระสภา” นี้เป็นคำซึ่งทำหน้าที่ขยายศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าเท่านั้น
3. อำไพ คำโท : อักษร “ป” ที่อยู่คำ “สมี” นี้ปรากฏให้เห็นแต่เพียงเส้นด้านล่างเท่านั้น ส่วนเส้นด้านอื่นๆ เห็นได้ไม่สู้ชัด แต่เมื่อได้พิจารณาดูตัวอักษรที่ตามหลัง “สมี” แล้วก็เห็นมีแต่ตัว “ป” เท่านั้นที่เหมาะสม
4. อำไพ คำโท : ดูคำอธิบายข้อ 1
5. อำไพ คำโท : “อํเบง” คำนี้เมื่อได้ตรวจดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็เห็นว่าเขียนเป็น “อํเบง” สำหรับคำนี้ ในภาษาเขมร ปัจจุบันเขียนเป็น “สํแบง” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ผสมตามหลังคำ “ผฺทะ” เช่น “ผฺทะสํแบงฺ” อ่านว่า “ผะเตียะส์ซ้อมแบง” แต่ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทย ก็ตรงกับคำว่า “บ้านเรือน” แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ตรงกันทีเดียว เพราะคำว่า “บ้าน” กับ “เรือน” ในภาษาไทยแยกแปลความหมายได้ชัดเจนทั้ง 2 คำ และแต่ละคำก็ใช้โดดๆ ได้ ส่วนคำ “สํแบง” ในภาษาเขมรนี้ จะต้องประกอบตามหลังคำ “ผฺทะ” เท่านั้นจึงจะฟังรู้เรื่อง จะใช้โดดๆ คำเดียวไม่ได้
6. อำไพ คำโท : “สรุก” ที่มีปรากฏอยู่หลายคำในจารึกนี้นั้น ในที่บางแห่งก็แปลว่า หมู่บ้านบ้าง เมืองบ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาของข้าพเจ้าว่าตรงไหนควรแปลว่าควรแปลว่าหมู่บ้าน และตรงไหนควรแปลว่าเมือง เพราะคำว่า “สรุก” ในภาษาเขมรโบราณนั้น มีความหมายกว้างมาก เช่น หมู่บ้าน เมือง หรือนคร ก็เรียกว่า “สรุก” ได้ทั้งนั้น