จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 2

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 22:54:50

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stele de Phnom Rung (K. 1067), บร.11, K.1067, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 291/2531

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1532

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 26 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 16 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “--- 911 (?) ศก ต คิ -------”
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาคำอ่านที่พิมพ์เผยแพร่ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II แล้วพบว่าอักษรตัวนี้ถูกอ่านเป็น “ต (ta)” ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ธูลิ” ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 4 อ่านเป็น “ธูลี” ในคำอ่านที่พิมพ์เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 หน้า 128 แต่เมื่อพิจารณารูปแบบตัวอักษรจากสำเนาจารึกแล้ว เห็นว่ารูปสระที่อยู่ข้างบน น่าจะเป็นรูปสระอิจม เพราะมีรูปแบบเหมือนกับสระอิจม ในคำอื่นๆ ในจารึกหลักเดียวกัน
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาคำอ่านที่พิมพ์เผยแพร่ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II แล้วพบว่าอักษรตัวนี้ถูกอ่านเป็น “ป (pa)” ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “รฺมฺมเทว มนฺ มานฺ ภูมิ วิชย(ปุริ)“
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เอียก”
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “วาปฺ เหมรุ(จิ)”
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “(วิ)ชยปุริ”
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “ขฺญุํ ”
10. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : แม้ในจารึกจะปรากฏชัดเจนว่าเป็น “ฆ” แต่เมื่อพิจารณาจากบริบทและเนื้อหาในจารึกหลักอื่นๆ แล้ว เห็นว่า ตัวพยัญชนะ “ฆ” ตัวนี้ น่าจะเป็น “ย” ในคำ “วิษย” มากกว่า เชื่อว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดในการจารจารึก
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 หน้า 128 อ่านเป็น “ถฺนลฺ”แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรในจารึกและคำแปลที่พิมพ์เผยแพร่ในเล่มเดียวกันนี้ที่แปลคำนี้ว่า “ถบล” อีกทั้งใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge II หน้า 142 อ่านเป็น “ถฺปลฺ” ซึ่งสอดคล้องกับความหมาย คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงเห็นว่า คำนี้น่าจะอ่านเป็น “ถฺปลฺ ”
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เปรียน”