จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี

จารึก

จารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 21:02:06

ชื่อจารึก

จารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Lŏp’bǔri (Sαn Čău) (K. 412), หลักที่ 21 ศิลาจารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี, จารึกที่ 21 ศิลาจารึกที่ศาลเจ้า เมืองลพบุรี, ลบ. 3, K. 412

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 15-16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 28 บรรทัด

ผู้อ่าน

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472), (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472), (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “โขฺลญพล” คำอ่านปัจจุบันเป็น “โขลญพล”
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “กัมฺรเตงฺ” คำอ่านปัจจุบันเป็น “กัมรเตง”
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “โขฺลญ” คำอ่านปัจจุบันเป็น “โขลญ”
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “โฉฺลญ” คำอ่านปัจจุบันเป็น “โฉลญ”
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูล ฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
6. ยอร์ช เซเดส์ : “พระบรมวาสุเทพ” คือ พระนารายณ์
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ตามรูปคำต้องเป็น “อุนฺมีลิต” และเมื่อพิจารณาจากตัวจารึก พบขีดเล็กๆ ที่ด้านบนของสระอิ จึงเห็นว่า คำนี้น่าจะอ่านเป็น “อุนฺมีลิต” ไม่ใช่ “อุนมิลิต”
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ต” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “ด” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ต” และ “ด” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูล ฯ จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “ด” ให้อ่านเป็น “ต” ทั้งหมด
9. ยอร์ช เซเดส์ : “พระ” ในเมืองละโว้นี้ จะเป็นคนหรือเทวสถานเช่นศาลเจ้า ไม่ปรากฏ
10. ยอร์ช เซเดส์ : “ลิะ” เป็นมาตราชั่งตวงของขอมครั้งโบราณ
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ขฺลสฺ” ใน Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais an Old Khmer-French-English Dictionary หมายถึง ภาชนะใส่น้ำอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะ (อาจเป็นถังน้ำโลหะ)
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “กลศ” ใน Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais an Old Khmer-French-English Dictionary หมายถึง หม้อน้ำ
13. ยอร์ช เซเดส์ : “อดเสนห์” คำนี้ ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ
14. ยอร์ช เซเดส์ : “ละโวก โวทิ จนหวาย” 3 คำนี้แปลไม่ออก เห็นจะเป็นชื่อภาชนะต่างๆ
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ลงฺเตา” นี้ไม่มีความหมาย และเมื่อพิจารณาจากรูปคำในจารึกแล้ว อาจอ่านเป็น “ลงฺเคา” ที่แปลว่า ทองเหลือง ก็ได้
16. ยอร์ช เซเดส์ : ตั้งแต่บรรทัดที่ 20 ถึงบรรทัดที่ 25 มีแต่ชื่อข้าชาย (โฆ) กับข้าหญิง (ใต) บรรทัดที่ 25 อ่านได้ “กระบือ”
17. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : เนื่องจากท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ไม่ได้แปลในส่วนของชื่อทาสไว้ ข้าพเจ้าจึงได้แปลเพิ่มเติม เพื่อให้คำแปลมีความสมบูรณ์มากขึ้น
18. ยอร์ช เซเดส์ : บรรทัดที่ 26-27-28 ชำรุดมากอ่านไม่ได้ความ