จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกถ้ำนารายณ์

จารึก

จารึกถ้ำนารายณ์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 15:56:10

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำนารายณ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกถ้ำเขาวง, จารึกบนผนังปากถ้ำนารายณ์, สบ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2527), (พ.ศ. 2529)
2) พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. 2546)

ผู้แปล

1) จำปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2527), (พ.ศ. 2529)
2) พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. 2546)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. จำปา เยื้องเจริญ : ในจารึกปรากฏรูปอักษรคือ “ฑาง์” เข้าใจว่าจะมาจาก “เดิง” แปลว่า “เมือง”
อธิบายศัพท์มอญโบราณ:
- จำปา เยื้องเจริญ : “กมุน์” อ่านว่า “กะมุ่น” แปลว่า อาณาจักร อาณาเขต กำแพง (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “กระตอน” (กรตน์) แปลว่า ตั้ง สร้าง เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “กะมุ่น” (กมุน์))
พงศ์เกษม สนธิไทย : อ่านว่า “กะมิน” แปลว่า ปกครอง ผู้ปกครอง
- จำปา เยื้องเจริญ : “อนุราธปุร” อ่านว่า “อะนุเรี่ยะเธี่ยะปาวระ” หมายถึง เมืองชื่ออนุราธปุระ
พงศ์เกษม สนธิไทย : หมายถึง เมืองชื่ออนุราธปุระ
- จำปา เยื้องเจริญ : “โกอ์” อ่านว่า “เก๊าะห์” แปลว่า กับ แก่ นั้น (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “เก๊าะ” (เกาอ์) แปลว่า ทวีป เมื่อชำระใหม่ จึงอ่านเป็น “เก๊าะห์” (โกอ์))
พงศ์เกษม สนธิไทย : อ่านว่า “เก๊าอ์” แปลว่า กับ ด้วย
- จำปา เยื้องเจริญ : “กตน์” อ่านว่า “กะตอน” แปลว่า สร้าง ตั้ง (คำนี้ ครั้งแรกอ่านไว้เพียง “ก๊ะ” . . (กะ ..) แปลว่า กับ .. เมื่อชำระใหม่ จึงอ่านเป็น “กะตอน” (กตน์))
พงศ์เกษม สนธิไทย : อ่านว่า “กะตอน” แปลว่า ผู้สร้าง ผู้สถาปนา
- จำปา เยื้องเจริญ : “กุนเตี่ยะรีจ่น” กุนทรีชน (บาลีเป็น “กุณฑลี”) (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “กวนด๊ะเรียเจียเยียะ” (กนฑราชย) แปลว่า กัณฑราชัย เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “กุนเตียะรีจ่น” (กุนทรีชน์))
- จำปา เยื้องเจริญ : “จิห์ร่น” ร้องเพลง ขับร้อง (คำนี้ ครั้งแรกออกเสียงเป็น “จิ๊ห์ร่น”)
- จำปา เยื้องเจริญ : “เล่ห์” ฟ้อนรำ ร่ายรำ
- จำปา เยื้องเจริญ : “โกมเญี่ยะ” พร้อมกับชาว ร่วมด้วยชาว (คำนี้ ครั้งแรกออกเสียงเป็น “โกมเญียะ”)
- จำปา เยื้องเจริญ : “ดาญง์” (เดิง) (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “เดิง” (ฑาง์) แปลว่า เมือง เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “ดาญง์” (ฑาง์))
- จำปา เยื้องเจริญ : “ปะอ๊อป” มอบ
- จำปา เยื้องเจริญ : “ตะน่ายซอยเนี่ยะเธี่ยะ” พ่อลุงสินายธะ (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “ตะน่ายซอยเนียเธียะ” (ตนายสินาธ) แปลว่า พ่อลุงสินาธะ หรือ พระปิตุลาสินาธะ (ราชาศัพท์) เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “ตะน่ายซอยเนี่ยะเธี่ยะ” (ตนาย์สินาธ)
- จำปา เยื้องเจริญ : “ฮอนนะ” แทน ตัวแทน ผู้นำ (คำนี้ ครั้งอ่านคำจารึกเป็น “หนนะ” เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “ห์นนะ”)
- จำปา เยื้องเจริญ : “โตย” แล้ว (คำนี้ ครั้งอ่านคำจารึกเป็น “เตาย์” เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “โตย์”)
- จำปา เยื้องเจริญ : “เลิ่ว” เอาไว้ กลิ้ง (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “เลา” (เลา) แปลว่า ไว้ เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “เลิ่ว” (โล))
- จำปา เยื้องเจริญ : “ปะดอย” ใน
- จำปา เยื้องเจริญ : “วุ่อ์” นี้ (คำนี้ ครั้งแรกอ่านเป็น “วุอ์” (เวาอ์) แปลว่า นี้ เมื่อชำระใหม่จึงอ่านเป็น “วุ่อ์” (โวอ์))