จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ่ออีกา

จารึก

จารึกบ่ออีกา ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 12:40:16

ชื่อจารึก

จารึกบ่ออีกา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 118 ศิลาจารึกบ่ออีกา, Stèle de Bô Ika (K. 400), นม. 24, K. 400

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศักราช 1411

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 21 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 4 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2497)

ผู้แปล

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2497), (แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส)
2) ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล (พ.ศ. 2510), (ทรงแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย)

ผู้ตรวจ

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2510)
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)
3) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ยอร์ช เซเดส์ : ตัวอักษร “กฺษฺม” นั้นแน่นอน และตัวที่นำหน้าก็ค่อนข้างแน่ว่าเป็น “สฺสู” แต่ตัวอักษรที่มีสระอิ อยู่ข้างบนนั้นไม่ค่อยแน่ชัดและคล้ายตัว “ป” มาก
2. ยอร์ช เซเดส์ : ตัวอักษร “สี” นั้นจารึกไม่ใคร่ดี และอาจเป็น “ไร” ก็ได้
3. ยอร์ช เซเดส์ : เป็นคำแปลชนิดไม่แน่ใจนักจาก “วยโส รฺเธณ”
4. ยอร์ช เซเดส์ : มหาศักราช 790 คือ พ.ศ. 1411
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : เดิมอ่านเป็น “นกฺ” แต่เมื่อพิจารณาข้อความในจารึกพบว่ารูปสระอะลอย อยู่บนเชิง “น” ชัดเจน จึงอ่านใหม่เป็น “อฺนกฺ”
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : เดิมอ่านเป็น “นงฺค” แต่เมื่อพิจารณาข้อความในจารึกพบว่ารูปสระอะลอย อยู่บนเชิง “น” ชัดเจน จึงอ่านใหม่เป็น “อฺนงฺค”
7. ยอร์ช เซเดส์ : ไม่ทราบแน่ว่าพระผู้เป็นเจ้าอีกองค์หนึ่ง คือเทพองค์ใด
8. รายนามต่อไปนี้ อ่านเป็นภาษาปัจจุบัน (ปริวรรต) โดย คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547)
9. ยอร์ช เซเดส์ : ตัวอักษรที่ไม่ได้อ่านนี้เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นรูปวงกลมมีเส้นนอนผ่าครึ่งคล้ายกับ “อุปัธมานียะ”