จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดม่อนช้าง

จารึก

จารึกวัดม่อนช้าง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 15:33:16

ชื่อจารึก

จารึกวัดม่อนช้าง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 39, ลพ./39, พช. 101, 549, จารึกบนแผ่นไม้กระดาน วัดพระนอน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2339

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 28 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2517)

ผู้ปริวรรต

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฮันส์ เพนธ์ : “ศรีศุภมสฺตุ” หรือ “ศฺรีโศภนมสฺตุ”
2. ฮันส์ เพนธ์ : วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2337
3. ฮันส์ เพนธ์ : ตาม ดร. ประเสริฐ ณ นคร ควรจะเป็น “วันดับไก้”
4. ฮันส์ เพนธ์ : คงจะหมายถึง “ทิ”
5. ฮันส์ เพนธ์ : ยามตูดเช้า = 6.00-7.30 น.
6. ฮันส์ เพนธ์ : วรัทธมานฉาย = เวลามงคล
7. ฮันส์ เพนธ์ : ปฐมมูลศรัทธา = “ศรัทธา” คือ ผู้มีศรัทธา หมายถึงพระภิกขุสามเณร และ ฆราวาส “ปฐมมูลศรัทธา” คือ ผู้ที่มีศรัทธาและเป็นผู้ต้นคิดทำบุญทางศาสนา เช่น สร้างพระพุทธรูป หรือ บูรณะวัด
8. ฮันส์ เพนธ์ : ภายใน = พระภิกขุสามเณร และเด็กวัด
9. ฮันส์ เพนธ์ : ภายนอก = ผู้ที่ไม่อยู่ในวัด
10. ฮันส์ เพนธ์ : คงจะหมายถึง “ส”
11. ฮันส์ เพนธ์ : สัทธิวิหาริก = ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์นับเป็น “สัทธิวิหาริก” ของพระอุปัชฌาย์ของวัดนั้น
12. ฮันส์ เพนธ์ : อันเตวาสิก = พระภิกขุหรือสามเณรที่อยู่ในวัด แต่ไม่ได้รับการอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ของวัดนั้น
13. ฮันส์ เพนธ์ : ชุตน = ทุกรูป
14. ฮันส์ เพนธ์ : ขยม = เด็กวัด
15. ฮันส์ เพนธ์ : สมเด็จเศรษฐราชาเจ้าเหง้านริศเป็นเกล้า = เจ้ากาวิละ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2324-25 / 2356-57
16. ฮันส์ เพนธ์ : พญามหาอุปราชหอหน้า = เจ้าธรรมลังกา
17. ฮันส์ เพนธ์ : พญารตนะหัวเมืองแก้ว = เจ้าคำฟั่น
18. ฮันส์ เพนธ์ : เข้าใจว่าจะต้องอ่าน “ทั้งหลาย” คำ “ทั้ง” ไม่ปรากฏในคำจารึก แต่มีเครื่องหมาย x
19. ฮันส์ เพนธ์ : ตีนของรองวัด = ผู้อยู่ไม่ไกลจากวัด
20. ฮันส์ เพนธ์ : พ่อออกสันนิบาตทานข้าวคิลานุปถัมภก = โยมอุปัฏฐาก
21. ฮันส์ เพนธ์ : พ่อการ = คนงาน
22. ฮันส์ เพนธ์ : ญาณยุกต์วิสุทธ์ใส = ความเชื่อบริสุทธิ์
23. ฮันส์ เพนธ์ : ประสงค์ที่จะให้พระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่อยู่นานต่อไป
24. ฮันส์ เพนธ์ : ดอยกุญชร = ปัจจุบันเรียกว่า “ดอยช้าง” (บาลี กุญชร คือ ช้าง)
25. ฮันส์ เพนธ์ : พระพุทธเจ้าเสด็จมาและทำนายว่า ในอนาคตจะมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง คือ องค์นี้
26. ฮันส์ เพนธ์ : แรก = เริ่ม, ลงมือ
27. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปลาย = เศษ, กว่า
28. ฮันส์ เพนธ์ : การปฏิสังขรณ์พระวิหาร เสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2339
29. ฮันส์ เพนธ์ : ออก = ขึ้น
30. ฮันส์ เพนธ์ : วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2338
31. ฮันส์ เพนธ์ : กระเบ็ด = หน้า
32. ฮันส์ เพนธ์ : คงจะหมายถึง “สี”
33. ฮันส์ เพนธ์ : “รัก” ในคำจารึกนี้ ตัว “ร” และตัว “ก” มีรูปลักษณะคล้ายกัน
34. ฮันส์ เพนธ์ : รักหาง = “รัก” คือ น้ำรัก, “หาง” คือ ชาด
35. ฮันส์ เพนธ์ : การปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเสร็จเมื่อประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. 2339
36. ฮันส์ เพนธ์ : วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2338
37. ฮันส์ เพนธ์ : สันนิษฐานได้ว่า ก่อนนั้นยังไม่มีอุโบสถ เพราะในคำจารึกไม่ใช้คำ “ปฏิสังขรณ์” เช่นเมื่อกล่าวถึงวิหารและพระพุทธรูป
38. ฮันส์ เพนธ์ : ตาม ดร. ประเสริฐ ณ นคร ควรจะเป็น “วันกัดเม็ด”
39. ฮันส์ เพนธ์ : การสร้างอุโบสถและงานฉลองเสร็จเมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขา ตรงกับวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2339
40. ฮันส์ เพนธ์ : เส้น = บัญชี, รายจ่าย
41. ฮันส์ เพนธ์ : ดูเหมือนใต้ตัวเลขศูนย์สี่ตัว ยังมีตัวเลขอีกสามตัว แต่มีสีหรือรักเคลือบอยู่
42. ฮันส์ เพนธ์ : “รัก” ในคำจารึกนี้ ตัว “ร” และตัว “ก” มีรูปลักษณะคล้ายกัน