จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 1

จารึก

จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:21

ชื่อจารึก

จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อด. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย, ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2115

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 39 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 19 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) บุญนาค สะแกนอก (พ.ศ. 2529)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

1) บุญนาค สะแกนอก (พ.ศ. 2529)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “925” 
ล้อม เพ็งแก้ว : มาสเกณฑ์และหรคุณของวันเถลิงศก จ.ศ. 925 คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตรได้เท่ากับ 11441 และ 337865 เมื่อนำไปเทียบกับที่ปรากฏในจารึกก็เห็นชัดว่ามาสเกณฑ์และหรคุณในจารึกน้อยกว่ามาสเกณฑ์และหรคุณวันเถลิงศก คือมาสเกณฑ์น้อยกว่า 2 เดือน หรคุณน้อยกว่า 61 วัน หรือประมาณ 2 เดือน นั่นคือจะต้องเป็น   จ.ศ. 924 มิใช่ 925
ธวัช ปุณโณทก : ศักราช 925 สังเกตเลข 5 เป็นปัญหาตรงที่หางซึ่งเป็นที่สังเกตว่าจะเป็นเลข 4 หรือ 5 เลือนรางไป ฉะนั้น ในที่นี้จะเป็นได้ทั้ง 4 และ 5 เมื่อยึดตัวเลขแน่นอนไม่ได้ ก็ต้องไปยึดลำดับปีในปีนักษัตร คือปีก่าไค้ (ก่า - ลำดับปีที่ลงท้าย 5, ไค้ - ปีกุน)  
2.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “สังกราช” คือ ศักราช
3.   นวพรรณ ภัทรมูล : 924 เป็น จุลศักราช ตรงกับ พ.ศ. 2105 (ธวัช ปุณโณทก ว่า 925 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2106)
4.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “มาษะเกน”
5.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “11439”
6.   ธวัช ปุณโณทก : มาสเกณฑ์ = เกณฑ์เดือน หมายถึง จำนวนเดือน นับตั้งแต่เดือนแรกที่ตั้งจุลศักราช จนถึงเดือนที่ลงในจารึก
7.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “337804”
8.   นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ฤก”
9.   ธวัช ปุณโณทก : หรคุณ = คือ จำนวนวัน โดยการนับเช่นเดียวกันกับมาสเกณฑ์ คือนับตั้งแต่วันแรกที่ตั้งจุลศักราชจนถึงวันที่จารึก
10. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “เฑิน 4 ขึน 4 คำ” และปริวรรตเป็น “เดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ”
11. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “มื”
12. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีกาไค้, ก่าไค้, กาไก๊ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีกุน เบญจศก ตามจุลศักราช
13. ธวัช ปุณโณทก : มื้อ = วัน
14. ธวัช ปุณโณทก : กาบสัน = ชื่อวันของภาคอีสาน ซึ่งใช้แบบเดียวกับภาคเหนือ
15. ธวัช ปุณโณทก : วัน 5 = วันพฤหัสบดี
16. ธวัช ปุณโณทก : ตน = สรรพนามของกษัตริย์, พระสงฆ์, พระพุทธรูป
17. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ภิภพฺพ”
18. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “มิ”
19. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “สทฺธา”
20. ธวัช ปุณโณทก : พระเชยยเชฏฐาธิราช = พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง (ร่วมสมัยกับพระจักรพรรดิ์) ได้อ้างตนว่าเป็นกษัตริย์แห่งล้านช้าง (เสวยพิภพในศรีสตนาคนหุตนครราชธานี) แสดงว่าเวลานั้นคงหมดอำนาจจากล้านนาแล้ว ตามหลักฐานในพงศาวดารโยนก และพงศาวดารลาว ฉบับกะซวงสึกสาทิกานกล่าวตรงกันว่าทรงเป็นกษัตริย์ 2 อาณาจักร นั่นคือ อาณาจักรล้านนาและล้านช้าง
21. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “ทศราชธรรม”
22. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “วัด”
23. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “สุพรฺณฺณคุหา”
24. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “วัดสุพรรณคูหา”
25. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ภายนอั”
26. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านและปริวรรตเป็น “ราชาเนต” คือ ตำแหน่งขุนนาง มักจะเรียกว่า ซาเนต ซึ่ง เป็นตำแหน่งคู่กับ ซานน
27. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “เปัน”
28. ธวัช ปุณโณทก : ภายใน = ฝ่ายสงฆ์, ภายในคณะสงฆ์
29. ธวัช ปุณโณทก : ภายนอก = ฝ่ายฆราวาส, ภายนอกคณะสงฆ์
30. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านและปริวรรตเป็น “รับ”
31. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “หฺมึน”
32. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ไตมาลฺย (ลง)” และปริวรรตเป็น “ใต้มาลง”
33. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “หฺมิน”
34. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “ใต้”
35. ธวัช ปุณโณทก : ยอยไร = การเก็บรวบรวมภาษีอากร, ยอย = ทยอยมา, เรี่ยไร, ไร = ส่วย มักจะใช้ว่า ส่วยไร 
36. ธวัช ปุณโณทก : แปง, แปลง = สร้าง, ทำ เช่น สร้างบ้านแปงเมือง
37. ธวัช ปุณโณทก : พังเพา = ตำแหน่งขุนนาง
38. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ผุไพร” และปริวรรตเป็น “ผู้ไพร่”
39. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “เรือ”
40. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “หีนชน”
41. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ชนุ” และปริวรรตเป็น “ซนู”
42. ธวัช ปุณโณทก : กว๊าน = หัวหน้าหมู่บ้าน, กำนัน
43. ธวัช ปุณโณทก : แทก = วัด
44. ธวัช ปุณโณทก : แลด้านแลพันวา = ด้านละ ๑,๐๐๐ วา
45. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “นาสีกส้าง”
46. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก ปริวรรตเป็น “นาท่าเป็ด”
47. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พิชฺช”
48. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “หมัา”
49. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พรุ”
50. นวพรรณ ภัทรมูล : ฝูง = พวก, หมู่
51. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “พรุ”
52. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “อฺยา”
53. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ชีง”
54. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “อฺยา”
55. ธวัช ปุณโณทก : คุบชิง, คลุบชิง = ช่วงชิง, ตะครุบช่วงชิง 
56. ธวัช ปุณโณทก : ลุน = ภายหลัง
57. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “หัา”
58. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ตณฺหา”
59. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “มัา”
60. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ผุ”
61. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “อปาย”
62. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านและปริวรรตเป็น “ธมฺมตุลฺล” 
63. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านและปริวรรตเป็น “เลากราช นาเมา”
64. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ปสาเทา”
65. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “สาสฺนูปถมฺภเกา” 
66. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “ปฏฺฏยฺย มาเนา”  และปริวรรตเป็น “ปฏฺฏยฺย มาโน”
67. นวพรรณ ภัทรมูล : ธวัช ปุณโณทก อ่านเป็น “การิเต”