จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ

จารึก

สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ หน้าที่ 12

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2563 15:12:28

ชื่อจารึก

สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2230

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 12 หน้า มี 249 บรรทัด

ผู้ปริวรรต

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2510)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ภาษาโปรตุเกส ถูกใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยากับชาวตะวันตกชาติต่างๆทั้งในด้านการค้าและการทูตเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในสมัยรัตนโกสินทร์จึงใช้ภาษาอังกฤษแทน จากบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ดซึ่งเดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาพร้อมคณะทูตฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า ขุนนางอยุธยาสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน บาทหลวงฝรั่งเศสเองก็ต้องใช้เวลา 8 เดือนระหว่างการเดินทางมาอยุธยา เรียนภาษาดังกล่าวเพื่อที่จะติดต่อสื่อสารกันได้
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “แกงได” คือ รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียนซึ่งมีผลในทางกฎหมาย
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมืองลพบุรี ในสมัยพระนารายณ์ ถือเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของอาณาจักรอยุธยา จดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวสี ระบุว่า พระนารายณ์เสด็จมาประทับที่เมืองดังกล่าวถึงปีละ 8 เดือน
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระหัด = พฤหัส
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “นพศก” หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 9 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1149
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ตราเทวดาถือจักร = โกษาธิบดี (กรมคลังเดิม), ตราคชสีห์ = กลาโหม, ตราบัวแก้ว = กรมท่า