โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 17:23:45 )
ชื่อจารึก |
จารึกเจดีย์วัดมหาธาตุ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สท. 30 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 21 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 19 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 71.5 ซม. สูง 73 ซม. หนา 5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 30” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
เจดีย์ด้านเหนือวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 53-57. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกวัดมหาธาตุนี้ มีสภาพชำรุด เนื้อศิลาแตกออกเป็นสองส่วน เมื่อแรกได้พบศิลาจารึกนี้ที่บริเวณเจดีย์ด้านเหนือวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย อักษรจารึกอยู่ภายในเส้นขอบ 2 ชั้น ซึ่งทำเป็นแนวเส้นคู่ ขีดลึกลงไปเป็นแนวเส้นบรรทัดอยู่ตอนล่าง คู่ขนานกันไปทุกบรรทัด ลักษณะการจารึกหรือการเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัดนี้ นิยมใช้กันทั่วไปในหมู่คนไทย จนถึงปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อรูปแบบการเขียนอักษรโรมัน ได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การเขียนตัวอักษรบนเส้นบรรทัด ตามแบบอย่างอักษรโรมัน จึงได้เริ่มมีขึ้น และเป็นที่นิยมเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุให้ คนไทยลืมวิธีการเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัดของตนไปอย่างสิ้นเชิง |
เนื้อหาโดยสังเขป |
สภาวะธรรมที่เป็นกุศล สภาวะธรรมที่เป็นอกุศล และสภาวะธรรมที่เป็นกลาง นั้นมีสาเหตุจากหลายปัจจัย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้เป็นจารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 21 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 |