จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 8

จารึก

จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 8

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2566 13:37:47 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 8

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชล. 9 จารึกวัดอัษฎางคนฤมิตร (แผ่นที่ 9), หลักที่ 256 ศิลาจารึก วัดอัษฎางคนิมิต, ชล. 9, ชล. 9

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินปูน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 55 ซม. สูง 60 ซม. หนา 52 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชล. 9 จารึกวัดอัษฎางคนฤมิตร (แผ่นที่ 9)”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 256 ศิลาจารึก วัดอัษฎางคนิมิต”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บริเวณพระอุโบสถวัดอัษฎางค์นิมิตร ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

บริเวณพระอุโบสถวัดอัษฎางค์นิมิตร ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 162-163.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ ประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 256 ศิลาจารึก วัดอัษฎางคนิมิต” จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตรมีจำนวน 8 หลัก ตั้งอยู่บริเวณรอบพระอุโบสถ ทั้งหมดมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน คือ กล่าวถึงหนทางต่างๆ ที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขโดยการทำความดีละเว้นความชั่ว (ดูรายละเอียดใน “จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 1-8”) วัดอัษฎางค์นิมิตร เดิมชื่อวัดเกาะสีชัง เป็นวัดของราษฎร ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างพระจุฑาธุชราชฐานขึ้นที่เกาะสีชังจึงทรงทำนุบำรุงวัดแห่งนี้อยู่เสมอ โดยโปรดให้สร้างพระอารามและอุโบสถขึ้นใหม่แล้วพระราชทานนามว่า วัดอัษฎางค์นิมิตร มีพิธีพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. 2435 พระอุโบสถของวัดแห่งนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากที่อื่น กล่าวคือ เป็นอุโบสถที่มีเจดีย์ทรงกลมอยู่ทางด้านบน ภายในเป็นโถงแผนผังกลม เพดานโค้งตามรูปเจดีย์ ประตูหน้าต่างเป็นรูปโค้งยอดแหลมแบบศิลปะโกธิคของยุโรป

เนื้อหาโดยสังเขป

ความสุข-ทุกข์เกิดจากผลของความดี-ชั่ว การนับถือและเชื่อฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นทางแห่งความสุขและช่วยให้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกทั้ง 8 หลักของวัดอัษฎางค์นิมิตร ไม่ปรากฏศักราชในการสร้าง แต่เมื่อพิจารณาจากรูปแบบตัวอักษรและอักขรวิธีซึ่งเป็นอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบกับประวัติการสร้างอุโบสถและพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 อาจสันนิษฐานได้ว่า จารึกน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “ประวัติ”)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 256 ศิลาจารึก วัดอัษฎางคนิมิต,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 163-164.
2) ป. มหาขันธ์, พระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชัง (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2540).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)