อายุ-จารึก พ.ศ. 1965, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล), วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-นายทิตไส, บุคคล-นางทองแก้ว,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 13:09:10 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปนายทิตไส |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
กท. 15, จารึกบนฐานพระพุทธรูปองค์ที่ 15 ในวิหารคด, จารึกฐานพระพุทธรูปนายทิตไส พุทธศักราช 1965 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศักราช 1965 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
โลหะ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูป |
ขนาดวัตถุ |
หน้าตักกว้าง 120 ซม. สูงตลอดองค์ 172 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กท. องค์ที่ 15” |
ปีที่พบจารึก |
พ.ศ. 2511 |
สถานที่พบ |
ในพระระเบียงวิหารคด ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณฺสิริ) เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ในพระระเบียงวิหารคด ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2511) : 108-109. |
ประวัติ |
ทางวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พบอักษรจารึกที่ฐานพระพุทธรูปจำนวนหลายองค์ ได้ทำหนังสือแจ้งให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจ มีเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจ อ่านถ่ายถอด และถ่ายภาพ 3 คน คือ นายประสาร บุญประคอง นายธูป นวลยง และนายเทิม มีเต็ม เมื่อวันที่ 5, 30 ก.ค. 2511 พระพุทธรูปนายทิตไส เป็นพระพุทธรูปสำริด สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ด้านหน้ามีจารึกอักษรไทยรัตนโกสินทร์ ภาษาไทย ว่า “สังคโลก” แสดงถึงหลักฐานว่าสถานที่เดิมของพระพุทธรูปองค์นี้ ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองสวรรคโลก (สังคโลก = สวรรคโลก) มาก่อน แล้วได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ข้อความในจารึกฐานพระพุทธรูปนายทิตไสนี้ มีความคล้ายคลึงกับจารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง ซึ่งเป็นจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย และเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยเหมือนกัน แต่จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหงมิได้ระบุศักราชที่สร้างไว้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง 2 พ่อลูก คือ นายทิตไส และนางทองแก้ว ผู้สร้างพระพุทธรูป |
ผู้สร้าง |
นายทิตไส |
การกำหนดอายุ |
ระบุศักราชไว้เป็น พ.ศ. 1965 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |