จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 5 (กังขาเรวัตโต)

จารึก

จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 5 (กังขาเรวัตโต)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 18:20:25 )

ชื่อจารึก

จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ 5 (กังขาเรวัตโต)

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 11-12

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

พระพิมพ์ (ปางสมาธิ?)

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “21/2513”
2) ในวารสาร Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพิมพ์พุทธสาวก 5”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2513

สถานที่พบ

เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.

ประวัติ

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงนามของพระกงฺขาเรวตฺโต ซึ่งเป็นเอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ เดิมชื่อ เรวตะ เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองสาวัตถี วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาก็เกิดศรัทธา จึงขออุปสมบท และศึกษากรรมฐานจนบรรลุโลกิยฌาณ ต่อมาไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ สาเหตุที่ท่านมีนามว่ากังขาเรวตตะ (พระเรวตผู้ชอบสงสัย) นั้น ก็เนื่องมาจากการที่คิดสงสัยก่อนเสมอ ว่าสิ่งที่ท่านจะใช้สอยนั้นถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และสมควรแก่บรรพชิตหรือไม่

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) “พระกังขาเรวัตเถระนิพพาน,” ใน สาวกนิพพาน, เล่ม 2 (ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2547), 186-191.
2) กรมศิลปากร, รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (พระนคร : ศิวพร, 2509), 16-17.
3) ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ, “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง,” Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002)