อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, วัตถุ-จารึกบนหิน, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การสร้างรูปเคารพ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ-พระเจ้ามเหนทรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าจิตรเสน, บุคคล-พระเจ้ามเหนทรวรมัน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 21:30:19 )
ชื่อจารึก |
จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Inscription de Sŭrin (K. 377), จารึกหลักที่ 119, K.377, จารึกวัดชุมพล, ศิลาจารึกจากจังหวัดสุรินทร์ |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นศิลา |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1. ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Inscription de Sŭrin (K. 377)” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดชุมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน (สำรวจข้อมูลวันที่ 18 มกราคม 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Inscriptions du Cambodge vol. V (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1953), 3-4. |
ประวัติ |
จารึกสุรินทร์ (K. 377) ปัจจุบันมีถูกกล่าวถึงแต่ในบทความของ ศ. ยอร์ช เซเดส์ เท่านั้น ซึ่งในขณะที่ท่านเขียนบทความในปี พ.ศ. 2496 นั้น จารึกหลักนี้ก็สูญหายไปแล้ว ในบทความดังกล่าวท่านรายงานไว้ว่า จารึกสุรินทร์ (K. 377) ถูกรายงานไว้เป็นครั้งแรกโดยเอย์โมนิเยร์ (Aymonier) ในหนังสือ Combodge ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2443-2446 ว่าพบอยู่ในวัดชุมพล ที่เมืองสุรินทร์ ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน 7 หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า “ศรีมเหนทรวรมัน” อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ จากจารึกทั้ง 7 หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย “จิตรเสน” เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ 1 (พ.ศ. 1141-1150) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1150-1159) |
ผู้สร้าง |
ศรีมเหนทรวรมัน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบของตัวอักษรปัลลวะ ได้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 นอกจากนี้ เนื้อความยังกล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ซึ่งครองราชย์อยู่ราว พ.ศ. 1150-1159 ดังนั้น จึงอาจกำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 12 ก็ได้เช่นกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |