จารึกวัดยอดเขาสมอแคลง

จารึก

จารึกวัดยอดเขาสมอแคลง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 18:10:34 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดยอดเขาสมอแคลง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พล. 10

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 22

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

อิฐ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. 10”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดยอดเขาสมอแคลง“

ปีที่พบจารึก

21 สิงหาคม พ.ศ. 2527

สถานที่พบ

พระเจดีย์วัดยอดเขาสมอแคลง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (ข้อมูลปัจจุบันคือ วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง ตําบลวังทอง อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก)

ผู้พบ

นายระเบียบ สำรวล (เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก)

ปัจจุบันอยู่ที่

หน่วยศิลปากรที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 178-180.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ถูกพบที่ซากเจดีย์บริเวณวัดร้าง ยอดเขาสมอแคลง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยนายระเบียบ สำรวล เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 3 ต่อมา นายคงเดช ประพัฒน์ทอง ได้ส่งภาพถ่ายจารึกดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 นอกจากนี้ยังมีการพบจารึกบนแผ่นอิฐ อยู่ในสภาพแตกหัก ชำรุดอีก 2 ชิ้น ร่วมกับจารึกดังกล่าว แต่ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกวัดยอดเขาสมอแคลง ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 ในพ.ศ. 2529 อ่านโดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์

เนื้อหาโดยสังเขป

ไม่สามารถจับใจความได้ ทราบแต่เพียงว่าเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และ ศาสนสถาน เนื่องจากปรากฏคำว่า "พิหาร"

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกวัดยอดเขาสมอแคลง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 178-180.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)