จารึกวัดถ้ำพระ

จารึก

จารึกวัดถ้ำพระ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2566 01:30:41 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดถ้ำพระ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกวัดถ้ำพระ อักษรขอม ภาษาเขมร, สน. 5

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1609

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ผนังถ้ำ

ขนาดวัตถุ

เฉพาะเนื้อที่จารึก กว้าง 34 ซม. สูง 21 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สน. 5”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2531) กำหนดเป็น “จารึกวัดถ้ำพระ อักษรขอม ภาษาเขมร”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2530

สถานที่พบ

เพิงผาหิน บนเทือกเขาภูพาน วัดถ้ำพระ บ้านหนองสะใน ตำบลนาม่อง (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลนาม่วง) อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ผู้พบ

โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ปัจจุบันอยู่ที่

เพิงผาหิน บนเทือกเขาภูพาน วัดถ้ำพระ บ้านหนองสะใน ตำบลนาม่อง (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลนาม่วง) อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (สำรวจ 20 ธันวาคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2531) : 66-68.

ประวัติ

จารึกวัดถ้ำพระนี้ โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้สำรวจพบบนเพิงผาหินทราย บนเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำพระ บ้านหนองสะใน ตำบลนาม่วง (น่าจะหมายถึง ตำบลนาม่อง) อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530
สภาพทั่วไปของสถานที่ปรากฏจารึกเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ กว้างราว 5 ม. โดยประมาณ ยาว 150 ม. และสูงประมาณ 4 ม. จารึกสลักที่ผนังเพิงผาและพื้นที่พบมีฐานก่ออิฐ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงครูโสมังคลาจารย์ว่าท่านเองเป็นผู้ทำจารึกประกาศไว้ภายในถ้ำ

ผู้สร้าง

ครูโสมังคลาจารย์

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 988 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1609

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์, “จารึกวัดถ้ำพระ อักษรขอม ภาษาเขมร,” ศิลปากร 32, 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2531) : 66-68.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2531)